ยางรถมอเตอร์ไซค์ เลือกอย่างไรให้เหมาะกับการใช้งาน?

ยางรถมอเตอร์ไซค์ เลือกอย่างไรให้เหมาะกับการใช้งาน?

          เชื่อว่าหลายท่านที่ใช้งานรถมอเตอร์ไซค์ของท่านเองอยู่ทุกวันนั้น คงมีไม่น้อยที่ต้องเจอสภาพถนนต่างๆ สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึงคือยางรถมอเตอร์ไซค์ที่ท่านใช้งานอยู่นั้นเหมาะกับการใช้งานและการขับขี่หรือไม่ ในวันนี้ทางเราได้นำความรู้ที่จะช่วยในการไขข้อข้องใจของท่านกันในคอลัมน์นี้

          ยางมอเตอร์ไซค์ในท้องตลาดนั้นมีมากมายหลายแบบ หลากหลายแบรนด์อย่างมากแต่จะมีการจัดประเภทได้ตามการใช้งานดังนี้

 

  

1.Road Tyre หรือยางถนน

          รูปแบบยางประเภทนี้ท่านสามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามท้องตลาด โดยผู้ผลิตยางแต่ละแบรนด์ก็จะเลือกใช่ส่วนประกอบของยางที่แตกต่างกันออกไป เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคได้เลือกใช้งานตามความต้องการ และสภาพคล่องของแต่ล่ะบุคคลโดยรูปแบบของยางประเภทนี้จะเป็นรูปแบบของยางที่มีดอกและลายที่แตกต่างกันออกไปแล้วแต่ยี่ห้อและรุ่น โดยดอกยางคือส่วนที่จะทำหน้าที่เพื่อยึดเกาะถนน ส่วนลายของมันนั้นจะทำหน้าที่ในการรีดเอาสิ่งที่ไม่ถึงประสงค์ออกไปเช่น น้ำ ทราย ฝุ่น หรือหิน นั่นเอง ซึ่งลวดลายนั้นก็เป็นส่วนของความสวยงามและเป็นอีกหนึ่งส่วนที่ช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อนั่นเอง ส่วนการเลือกยางให้เหมาะสมกับตัวรถของเรานั้นอาจจะต้องเลือกโดยปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ หรือพนักงานขาย โดยเราสามารถบอกถึงความต้องการของเรากับผู้รู้ได้

 

  

2.Touring Tyre หรือยางสำหรับรถทัวร์ริ่ง

          ยางชนิดนี้มีหลายท่านอาจจะเรียกกันว่า “ยางฮาล์ฟ” เพราะความพิเศษของยางชนิดนี้ก็คือเรื่องของ ผิวสัมผัสที่จะมีความแข็งมากกว่าและมีลายของยางที่มีความลึกกว่ายางแบบ Road Tyre และแน่นอนว่าด้วยลายยางที่ลึกนั้นเหมาะสำหรับการใช้งานในเส้นทางกึ่งๆกับ Off – Road ที่มีทางเป็นโคลนหรือทรายแบบเต็มรูปแบบ มันเหมาะกับเส้นทางที่เป็นถนนพื้นแข็งหรือทางดินมากกว่าทาง Off – Roadด้วยลักษณะของยาง Touring Tyre นั้นไม่เหมาะกับการทำความเร็วสูง เพราะความลึกของลายยางที่เน้นการใช้งานในการขจัดสิ่งที่ไม่ถึงประสงค์ได้ดีกว่า  ดังนั้นยางประเภทนี้เหมาะกับการทำความเร็วที่ไม่เกิน 160 -180 กิโลเมตรต่อชั่วโมงนั่นเอง

 

  

3.Chopper And Cruiser Tyre ยางสำหรับรถมอเตอร์ไซค์ขนาดใหญ่

          ความแตกต่างจากประเภทอื่นคือ ขนาดความกว้างของหน้ายาง ที่มีขนาดที่ใหญ่กว่ายางประเภทอื่นๆ ความลึกของร่องยางนั้นจะมีความลึกที่ใกล้เคียงกับยางประเภท Road Tyre แต่จะมีลวดลายที่ละเอียดกว่า ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะการใช้งานของตัวรถที่เน้นหนักในการวิ่งบนถนนทางเรียบด้วยร่องของบางที่มีความละเอียดนั้นจะช่วยในเรื่องของการขับสิ่งที่ไม่พึ่งประสงค์ออกไป และลดเสียงรบกวนจากการเสียดสีของยางและพื้นถนน และช่วยในเรื่องของการควบคุมตัวรถให้ง่ายขึ้น ผิวสัมผัสของตัวยางนั้นจะมีความแข็งในระดับปานกลางและเสริมความแข็งในบริเวณด้านข้างของยางให้มีผิวสัมผัสที่ยึดหยุ่นได้ดีกว่ายางในประเภท Road Tyre และ Touring Tyre เพื่อการใช้งานในการเข้าโค้งที่นุ่มนวลกว่าและปลอดภัยมากกว่านั่นเอง

 

  

4.Off – Road Tyre หรือยางวิบาก

          โดยยาง Off – Road นั้นส่วนมากจะมาในรูปแบบของยาง Tube Tyre หรือยางที่มียางใน นั้นก็เพราะว่าวงล้อของรถในแนววิบากนั้นส่วนมากจะมาในรูปแบบของล้อซี่ลวด ที่สามารถลดแรงกระแทกที่เกิดจากการกระโดด และลดแรงเสียดทานของตัวยางและวงล้อได้ดีกว่าล้อแม็กที่ใช้กันในรถประเภทอื่นๆความพิเศษของยางประเภทนี้ก็คือหน้าสัมผัสนั้นจะมีความแข็งที่น้อยกว่า และดอกยางที่มีจำนวนที่น้อยกว่ายางประเภทอื่นๆแต่จะเพิ่มในส่วนของความลึกของร่องบางที่จะลึกกว่ายางประเภทอื่นๆ นั้นก็เพราะประเภทการใช้งานของมันที่เน้นในลักษณะการรีด ขจัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกจากเนื้อยาง เช่น น้ำ โคลน หิน ฝุ่น และทรายเป็นต้น ขอบด้านข้างของยางประเภทนี้จะมีความแข็งมากกว่ายางประเภทอื่นๆ อีกด้วย

 

   

5.Sport Tyre หรือยางสปอร์ต

          โดยยางประเภทนี้จะมีผิวสัมผัสที่นุ่มที่สุดเมื่อเทียบกับประเภทของยางต่างๆ ดอกยางมีจำนวนที่มากกว่า เพื่อการช่วยในการยึดเกาะที่ดีกว่า และความเสถียรในการหมุนต่อรอบนั้นจะมีความสม่ำเสมอกว่าประเภทอื่นๆ ความลึกของร่องลายยางนั้นจะเน้นการรีดน้ำ เป็นหลักซึ่งมันจะมีความลึกที่ไม่มากนักโดยยางประเภทนี้จะเน้นที่การยึดเกาะถนนทางเรียบเป็นหลัก ยิ่งเมื่ออุณหภูมิของยางนั้นมีความร้อนที่พอดีแล้วจะยิ่งเกาะถนนมากขึ้น แต่จะต้องแลกมากับการสึกหรอที่รวดเร็ว การหมุนของตัวยางจะมีความสม่ำเสมอทำให้การเคลื่อนที่ของตัวรถนั้นไปได้ดีกว่ายางประเภทอื่นๆ จึงทำให้ยางประเภทนี้นิยมใช้กันเป็นอย่างมากในสนามการแข่งขันนั่นเอง

          เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับประเภทและรูปแบบของยางนั้น หวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านจะได้นำเกร็ดความรู้นี้ไปใช้ในการเลือกซื้อยางให้เหมาะสมกับการขับขี่ของตัวท่านเองได้ และในวันนี้ก็ขอจบคอลัมน์นี้แต่เพียงเท่านี้ คอลัมน์ต่อจะเป็นอย่างไรรอติดตามกันได้

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *