หมวกกันน็อคที่ดีตามมาตราฐาน เป็นอย่างไร??! มาหาคำตอบกัน

หมวกกันน็อคที่ดีตามมาตราฐาน เป็นอย่างไร??! มาหาคำตอบกัน

        เมื่อท่านต้องการจะหาซื้อหมวกกันน็อคใบใหม่สักใบหนึ่ง ท่านจะสามารถรู้ได้หรือไม่ว่าหมวกใบไหนมีมาตราฐานการผลิตและความปลอดภัยมากแค่ไหน คงมีความสงสัยกันมิใช่น้อย และวันนี้จะพามาทำความรู้จักกันถึงมาตราฐานหมวกกันน็อค ว่าเป็นอย่างไรบ้าง

        โดยมาตราฐาน Snell M2015 นี้ได้มีการใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ปี 2014 (พ.ศ.2557) โดยจะมาแทนในแบบ ECE 22-05 ที่มีใช้กันทั่วไปในหลายๆประเทศ โดยก่อนหน้านี้มาตราฐานที่ได้รับการใช้อยู่เป็นมาตราฐานทั่วไปจะมีด้วยกัน 3 แบบใหญ่ๆ คือแบบ DOT  ECE และ SNELL โดยเราจะมาพูดให้เข้าใจง่ายๆถึง 3 แบบนี้กันก่อน

        1.DOT ย่อมาจาก Department Of Transportation

        เป็นมาตราฐานการรับรองสินค้าของสหรัฐอเมริกาออกมารับรองสินค้าเกือบทุกชนิด คล้ายๆ มอก.บ้านเรา โดยการทดสอบสินค้านั้นจะได้รับการทำตรวจครั้งเดียวแล้วสามารถใช้งานได้ตลอด จนกว่าจะมาผู้ร้องเรียนถึงมาตราฐานของสินค้าๆนั้นถึงจะเริ่มพิจารณาสินค้าใหม่นั่นเอง

        2.Snell 2000

        เป็นมาตราฐานที่หน่วยงานเอกชนรับรอง โดยจะสอบใหม่ทุกๆ 5 ปี โดยการนำมาทดสอบครั้งแรกได้ทดสอบในสนามแข่งรถเมื่อปี 1959 และมีการทำสอบที่ละเอียดกว่าแบบ DOT  ทำให้ผู้ใช้เลือกใช้มากกว่า DOT เพราะมีการทดสอบมาจราฐานบ่อยครั้งและปลอดภัยกว่านั่นเอง

        3.ECE ย่อมากจาก Economic Commission for Europe

        เป็นการรับรองมาตรฐานหมวกกันน็อคที่ได้รับการยอมรับจากกว่า 50 ประเทศทั่วโลกและการแข่งขันในรูปแบบต่างๆ โดยการทดสอบ ECE จะดูเเข้มงวดและค่อนข้างทันสมัย โดยการทดสอบพื้นฐานจะเหมือนกับ DOT และ Snellโดยหลายท่านอาจจะเคยได้เห็นในชื่อ ECE 22.05 นั่นเองและนอกจากหมวดของหมวกกันน็อคแล้วยังมีในหมวดของสินค้าอื่นๆอีกด้วย

  

        และทั้งหมดนี้คือมาตราฐานของหมวกกันน็อคที่ได้รับการยอมรับและการใช้กันและขอบอกเพิ่มเติมว่ามาตราฐานการทดสอบ SNELL มาถึงตัวของ M2015 ที่ได้รับการปรับปรุงมาจากตัวก่อนๆ และยังมีมาตราฐานอีกหลายแบบที่ยังไม่ได้กล่าวถึง อีกด้วย ส่วนมาตราฐานของไทยเราที่เรียกว่า มอก. ก็ได้รับมาตราฐานในระดับหนึ่งพอสมควร ถึงอย่างไรการเลือกหมวกกันน็อคตามมาตราฐานนั้นก็ควรพิจารณาจากความปลอดภัยเมื่อเกิดอุบัติเหตุเป็นสำคัญ เพราะอุบัติเหตุนั้นเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อบนท้องถนน และในคอลัมน์วันนี้ก็ขอจบเพียงเท่านี้ คอลัมน์ต่อไปจะเป็นอย่างไรติดตามกันได้เร็วๆนี้

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *