บีเอ็มดับเบิลยู ประเทศไทย จัดงานเสวนา “The Future of Mobility” เผยวิสัยทัศน์สู่การขับเคลื่อนแห่งอนาคตผ่านมุมมองของผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญในแวดวงยานยนต์

บีเอ็มดับเบิลยู ประเทศไทย จัดงานเสวนา “The Future of Mobility” เผยวิสัยทัศน์สู่การขับเคลื่อนแห่งอนาคตผ่านมุมมองของผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญในแวดวงยานยนต์

จากซ้ายไปขวา

  1. คุณกฤษฏิ์ วิชัยวัฒนาพาณิชย์ ประธานกรรมการบริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ฮ้อปคาร์ จำกัด
  2. ดร. ยศพงษ์ ลออนวล นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย และ ประธานคลัสเตอร์วิจัยยานยนต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)
  3. คุณจาตุรนต์ โกมลมิศร์ กรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)
  4. คุณขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ประธาน บริษัท สื่อสากล จำกัด
  5. ดร. แอนเดรียส อัลมานน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายบริหารผลิตภัณฑ์ยานยนต์ไฟฟ้าและบีเอ็มดับเบิลยู i บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป
  6. มร. คริสเตียน วิดมานน์ ประธาน บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย
  7. คุณกฤษฎา อุตตโมทย์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารกิจการองค์กร บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย

 

        กรุงเทพฯ. บีเอ็มดับเบิลยูต่อยอดวิสัยทัศน์นวัตกรรมยานยนต์แห่งอนาคต ตอบรับกระแสโลกในการเข้าสู่ยุคของยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า จัดงานเสวนา “The Future of Mobility” ระดมนักคิดและผู้เชี่ยวชาญในแวดวงยานยนต์มาร่วมพูดคุยถึงทิศทางของระบบคาร์แชร์ริ่ง (Car Sharing) ในประเทศไทย ภายในงานเดียวกัน ยังมีผู้บริหารจากบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป แสดงวิสัยทัศน์แห่งผู้นำยนตรกรรมไฟฟ้าภายใต้ แบรนด์บีเอ็มดับเบิลยู i แนะนำนวัตกรรมแห่งอนาคตที่ตอบสนองความต้องการของตลาดอย่างรอบด้าน รวมถึงเผยพันธกิจของบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย ในการปูรากฐานอันแข็งแกร่งเพื่อเตรียมความพร้อมสู่อนาคตของยานยนต์ไฟฟ้าอย่างยั่งยืนด้วยการเดินหน้าประกอบแบตเตอรี่แรงดันสูงในประเทศไทย และการมุ่งขยายเครือข่ายการให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะในโครงการ ChargeNow อย่างต่อเนื่องทั่วประเทศ

        มร. คริสเตียน วิดมานน์ ประธาน บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย กล่าวว่า “เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่เป็นเจ้าภาพจัดงานเสวนาที่รวมผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมยานยนต์ มาร่วมกันแสวงหาแนวทางสู่อนาคตที่ลดมลภาวะจากการใช้พลังงานสะอาด สำหรับบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย ในปี 2561 ที่ผ่านมา เราได้สร้างสถิติใหม่ด้วยอัตราการเติบโตปีต่อปีของรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยูที่ 20% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดในเครือข่ายบีเอ็มดับเบิลยูทั่วโลกถึงสองปีซ้อน สะท้อนการเป็นแบรนด์ชั้นนำในตลาดอย่างต่อเนื่อง อีกหนึ่งองค์ประกอบที่ยืนยันถึงความสำเร็จของเราก็คือ ยอดการส่งมอบรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) ในประเทศไทยที่พุ่งสูงขึ้นถึง 122% ในปีที่ผ่านมา ซึ่งเร็วๆ นี้จะมีรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดรุ่นใหม่ๆ ออกสู่ตลาดในเมืองไทยอย่างแน่นอน เพื่อต่อยอดความสำเร็จหลังจากการเปิดตัวของบีเอ็มดับเบิลยู 530e บีเอ็มดับเบิลยู 740Le บีเอ็มดับเบิลยู i8 Coupe และบีเอ็มดับเบิลยู i8 Roadster ด้วยความมุ่งมั่นของบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทยที่จะเดินหน้าไปสู่การเป็นผู้นำด้านความยั่งยืน เรายังคงขยายเครือข่ายการให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดอย่างต่อเนื่อง สานต่อจากการริเริ่มโครงการ ChargeNow เมื่อปี 2560 โดยมุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่สมาชิก ChargeNow ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของรถยนต์รุ่นใดหรือยี่ห้อใดก็ตาม สามารถมาใช้บริการได้อย่างสะดวกสบาย ที่สถานี ChargeNow ทุกสาขา โดยปัจจุบันให้บริการทั้งหมด 121 หัวจ่าย ทั้งที่สถานี ChargeNow และที่ผู้จำหน่ายอย่างเป็นทางการของบีเอ็มดับเบิลยู ใน 57 แห่งทั่วประเทศไทย”

“นอกจากนี้ บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป แมนูแฟคเจอริ่ง ประเทศไทย ยังขยายพันธกิจความยั่งยืนสู่อนาคตของยานยนต์พลังงานไฟฟ้า ด้วยการประกาศเริ่มต้นการประกอบแบตเตอรี่แรงดันสูงในประเทศไทย ทั้งการประกอบโมดูลแบตเตอรี่และการประกอบตัวแบตเตอรี่แพ็ค ซึ่งจะเริ่มต้นสายการประกอบในปี 2562 นี้ โดยบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป แมนูแฟคเจอริ่ง และแดร็คเซิลไมเออร์ กรุ๊ป วางแผนที่จะลงทุนร่วมกันกว่า 400 ล้านบาท เพื่อสร้างหลักชัยใหม่แห่งนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย และในภูมิภาคนี้” มร. คริสเตียน กล่าวเพิ่มเติม

ทั้งนี้ โรงงานประกอบแบตเตอรี่แรงดันสูงแห่งใหม่ ภายใต้ความร่วมมือกับแดร็คเซิลไมเออร์ กรุ๊ป ผู้นำด้าน
การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ระดับโลก ซึ่งเป็นพันธมิตรกับบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 จะเริ่มต้น
สายการประกอบอย่างเต็มกำลังภายในปีนี้ โดยแบตเตอรี่แรงดันสูงที่ประกอบสมบูรณ์แล้ว จะถูกส่งไปยังโรงงานบีเอ็มดับเบิลยูที่ระยอง เพื่อติดตั้งในรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดในตระกูลบีเอ็มดับเบิลยู ซีรี่ส์ 5 และบีเอ็มดับเบิลยู
ซีรี่ส์ 7 เริ่มต้นเฟสแรก ภายในปี 2019 นี้เป็นต้นไป นอกจากนี้ บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป แมนูแฟคเจอริ่ง ประเทศไทย ยังได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในการลงทุนเพิ่มเติมด้วยมูลค่ากว่า 700 ล้านบาท สำหรับการประกอบรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดในอนาคต

นวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าจากบีเอ็มดับเบิลยู เพื่ออนาคตแห่งการเดินทางที่ยั่งยืน

ในงานเสวนาครั้งนี้ ดร. แอนเดรียส อัลมานน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายบริหารผลิตภัณฑ์ยานยนต์ไฟฟ้าและ บีเอ็มดับเบิลยู i บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ได้ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ด้านนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าภายใต้แบรนด์
บีเอ็มดับเบิลยู i ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ในการสร้างสรรค์ระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าที่อยู่บนพื้นฐานแนวคิดของความยั่งยืน โดยความนิยมในยานยนต์ไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดทั่วโลก และยังคงมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นอีกมากในอนาคต

ในระดับโลก บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ทำผลงานได้อย่างน่าประทับใจด้วยยอดการส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้าและปลั๊กอินไฮบริดทั่วโลก มากกว่า 140,000 คัน ในปี 2561 โดยบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป มียอดการส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้าภายใต้แบรนด์บีเอ็มดับเบิลยู และมินิ ทั่วโลก รวมทั้งสิ้น 142,617 คัน นับเป็นอัตราการเติบโตถึง 38.4%

“การพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าคือหนึ่งในเสาหลักของกลยุทธ์ NUMBER ONE > NEXT ของบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป และเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สู่ยานยนต์แห่งโลกอนาคต ACES (Autonomous ระบบขับขี่อัตโนมัติ, Connectedระบบเชื่อมต่อครบวงจร, Electrified ระบบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า และ Services/Shared การให้บริการ) หลังจากการเปิดตัวของบีเอ็มดับเบิลยู i3 บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป เป็นผู้ริเริ่มและก้าวสู่ความเป็นผู้นำในนวัตกรรม
ยานยนต์ไฟฟ้า โดยภายในปี พ.ศ. 2564 บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป จะมีรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด 5 รุ่น คือ บีเอ็มดับเบิลยู i3 มินิ อิเล็คทริค บีเอ็มดับเบิลยู iX3 บีเอ็มดับเบิลยู i4 และบีเอ็มดับเบิลยู iNEXT และภายในปี พ.ศ. 2568
บีเอ็มดับเบิลยู i จะมีรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้ารวมทั้งหมด 25 รุ่น ประกอบด้วยรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ถึง 12 รุ่น ขณะที่แบรนด์และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ภายใต้ความดูแลของบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ก็ยังมีเป้าหมายที่จะพัฒนานวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องเพื่อเดินหน้าไปสู่ความสำเร็จต่อไป” ดร. แอนเดรียส อัลมานน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายบริหารผลิตภัณฑ์ยานยนต์ไฟฟ้าและบีเอ็มดับเบิลยู i บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป กล่าว

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป การสร้างสายการประกอบรถยนต์จะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ รถยนต์ระบบปลั๊กอินไฮบริด และรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาป จะใช้สาย
การประกอบร่วมกัน เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ขับขี่ว่าบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป จะสามารถรองรับความต้องการของผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพและฉับไว ภายในสิ้นปี 2562 นี้ บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป คาดว่าจะมีรถยนต์ไฟฟ้ามากกว่า 5 แสนคันบนท้องถนนทั่วโลก   “ในอนาคตอันใกล้นี้ เราจะสามารถกำหนดได้อย่างรวดเร็วว่า รถยนต์รุ่นใดที่จะประกอบด้วยเครื่องยนต์ไฟฟ้าล้วน ขับเคลื่อนด้วยปลั๊กอินไฮบริด หรือเลือกใช้เครื่องยนต์สันดาปที่มีประสิทธิภาพด้านการประหยัดพลังงานที่เหนือกว่า ความคล่องตัวนี้จะช่วยให้เราประกอบรถยนต์รุ่นต่างๆ ได้ตรงตามความต้องการของตลาดยิ่งขึ้น และยังสร้างบรรทัดฐานของการนำไปสู่อนาคตของยานยนต์ไฟฟ้าในตลาดที่กว้างยิ่งขึ้นอีกด้วย” ดร. แอนเดรียส กล่าวเสริม

อนาคตที่สดใสของระบบการใช้ยานพาหนะร่วมกัน (Car Sharing) โดยบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป
ประเทศไทย พร้อมด้วยภาครัฐและพันธมิตรภาคเอกชน ร่วมจับมือผลักดันประเทศไทยสู่อนาคต
คาร์ แชร์ริ่งปลอดมลพิษ

บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย ได้ร่วมมืออย่างต่อเนื่องกับทั้งภาครัฐและพันธมิตรภาคเอกชน ในการสนับสนุน พัฒนาระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับยนตรกรรมไฟฟ้า และการติดตั้งสถานีชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า โดยในปีพ.ศ. 2559 บริษัทได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เพื่อดำเนินโครงการนำร่อง “Electric Vehicle Charging and Car Sharing Zones” หรือ Charge & Share โดยบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย ได้นำรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยู i3 ซึ่งขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าโดยสมบูรณ์และปราศจากการปล่อยไอเสีย พร้อมด้วยรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด บีเอ็มดับเบิลยู 330e และบีเอ็มดับเบิลยู X5 xDrive40e ให้ทางมหาวิทยาลัยทดลองใช้ในโครงการดังกล่าว

        ดร.ยศพงษ์ ลออนวล นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย และประธานคลัสเตอร์วิจัยยานยนต์ มจธ. กล่าวว่า “Charge & Share เป็นโครงการที่ริเริ่มขึ้นโดยกลุ่มคลัสเตอร์วิจัยยานยนต์ของ มจธ. ด้วยเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในรั้ว มจธ. ให้เป็นรูปธรรม และเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางมาเป็น Car Sharing เพื่อศึกษาพฤติกรรมของคนไทยในการใช้งานระบบดังกล่าวด้วย ความร่วมมือกับบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เชื่อมั่นว่าโครงการนี้จะเป็นอีกก้าวสำคัญที่จะนำประเทศไทยนำไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน”

สำหรับโครงการ Charge & Share นั้น มจธ. ได้เปิดสถานีประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าขึ้น โดยมีรถยนต์ให้บริการในรูปแบบ Car Sharing ซึ่งหนึ่งในนั้นคือรถยนต์ไฟฟ้า บีเอ็มดับเบิลยู i3 ซึ่งบุคลากรของมหาวิทยาลัยนำไปใช้ในงานราชการ พร้อมเก็บข้อมูลพฤติกรรมการขับขี่ เพื่อศึกษาลักษณะการใช้งาน รวมถึงข้อจำกัดต่างๆ ของการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ควบคู่กับการศึกษาพฤติกรรมของคนไทยในการใช้บริการระบบ Car Sharing และ
EV Car Sharing เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย และระบบ Car Sharing นั้นได้รับความร่วมมือจากบริษัท ฮ้อปคาร์ จำกัด ผู้ให้บริการ Car Sharing แห่งแรกในประเทศไทย ในการช่วยบริหารจัดการระบบการจองและคืนรถ รวมไปถึงให้บริการผู้ใช้อีกด้วย

การบริการของฮ้อปคาร์ เน้นให้เช่ารถยนต์คันเล็ก อีโคคาร์ เหมาะสำหรับขับขี่ในเมือง โดยขณะนี้ มีรถยนต์ให้บริการทั้งหมดประมาณ 200 คัน และมีฐานลูกค้ากว่า 60,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่ใช้บริการอยู่ในกรุงเทพฯ ก้าวต่อไปของฮ้อปคาร์ คือยกระดับบริการสู่รถยนต์ไฟฟ้า หรือ electric car sharing โดยปัจจุบันได้นำรถยนต์ไฟฟ้าอย่างบีเอ็มดับเบิลยู i3 มาทดลองใช้ และในอนาคตจะทยอยเพิ่มจำนวนรถยนต์ไฟฟ้าต่อไป

เพื่อรองรับการเติบโตของยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย การพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน และตอบรับแผน
ระยะยาวของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ที่ได้ตั้งเป้ายอดการใช้รถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดในประเทศไทยไว้ 1.2 ล้านคัน ภายในปี 2579 บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย ร่วมกับพันธมิตรในโครงการ ChargeNow จึงได้เดินหน้าขยายเครือข่ายการให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะในโครงการ ChargeNow อย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการไปเมื่อเดือนสิงหาคม 2560 ที่ผ่านมา ซึ่งในปัจจุบันมีสถานีพร้อมให้บริการทั้งหมดมากกว่า 121 หัวจ่ายกระจายอยู่ 57 แห่งทั่วประเทศไทย รวมถึงภายในศูนย์บริการของ
ผู้จำหน่ายบีเอ็มดับเบิลยูอย่างเป็นทางการ และมีเป้าหมายที่จะติดตั้งให้ครบทั้งหมด 150 หัวจ่าย ภายในสิ้นปี 2563 และเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ใช้รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดและรถยนต์ไฟฟ้าทุกคน โครงการ ChargeNow พร้อมให้บริการได้ในทุกเครือข่ายฯ ในมาตรฐานที่ใกล้เคียงกัน และมีระบบการให้บริการที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

 

บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป

บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป เป็นหนึ่งในผู้ผลิตรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ที่ประสบความสำเร็จที่สุดในโลก เราผลิตและจำหน่ายรถยนต์ภายใต้แบรนด์บีเอ็มดับเบิลยู, มินิ, โรลส์-รอยซ์ และบีเอ็มดับเบิลยู มอเตอร์ราด โดยมีเครือข่ายการผลิต 31 แห่งใน 15 ประเทศ อีกทั้งยังมีเครือข่าย  ผู้จำหน่ายและบริการมากกว่า 140 ประเทศทั่วโลก    ในปี พ.ศ. 2561 บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป มียอดขายรถยนต์ 2,490,000 ล้านคัน และมอเตอร์ไซค์กว่า 165,000 คันทั่วโลก กำไรสุทธิในปีงบประมาณ 2560 ของบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป อยู่ที่ 10.655 พันล้านยูโร จากรายได้รวมทั้งหมด 98.678 พันล้านยูโร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป มีพนักงานทั้งหมด 129,932 คนทั่วโลก

ความสำเร็จของบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ได้รับการขับเคลื่อนจากพลังแห่งวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นในการพัฒนาเทคโนโลยี สร้างผลิตภัณฑ์ที่ยอดเยี่ยม และให้บริการกับลูกค้าอย่างดีที่สุด นอกจากนี้เรายังให้ความสำคัญกับการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน โดยคำนึงถึงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ในทุกผลิตภัณฑ์และในทุกขั้นตอนการผลิตอีกด้วย

บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย

บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย เป็นสาขาของ BMW AG ประเทศเยอรมนี ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2541 ประกอบด้วย สามบริษัท ได้แก่ บริษัท บีเอ็มดับเบิลยู (ประเทศไทย) จำกัด รับผิดชอบด้านการขายและการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ของบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป บริษัท บีเอ็มดับเบิลยู แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด รับผิดชอบด้านการผลิตรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ภายใต้แบรนด์ บีเอ็มดับเบิลยู และบีเอ็มดับเบิลยู มอเตอร์ราด และบริษัท บีเอ็มดับเบิลยู ลิสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด รับผิดชอบด้านบริการทางการเงินสำหรับผู้จำหน่ายรถยนต์และลูกค้าบุคคล

ในปี 2561 บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย สร้างสถิติความสำเร็จเป็นประวัติการณ์ด้วยยอดส่งมอบรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยูได้เป็นสถิติใหม่ที่ 12,036 คัน ซึ่งสูงกว่าปีก่อนหน้าถึง 20% และยังนับเป็นอัตราการเติบโตที่สูงที่สุดในเครือข่ายของบีเอ็มดับเบิลยูทั่วโลกเป็นปีที่สองติดต่อกัน ส่วนยอดการส่งมอบรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดในประเทศไทยก็เพิ่มสูงขึ้นถึง 122% ขณะที่มินิและบีเอ็มดับเบิลยู มอเตอร์ราด มียอดการส่งมอบรถตลอดปีสูงเป็นสถิติใหม่เช่นกันที่ 1,051 คัน (เพิ่มขึ้น 4% จากปีก่อนหน้า) และ 2,154 คัน (เพิ่มขึ้น 8%) ตามลำดับ

ในด้านการผลิต โรงงานของบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป แมนูแฟคเจอริ่ง ประเทศไทย เป็นเครื่องสะท้อนถึงความเชื่อมั่นของบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ที่มีต่อตลาดในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะตลาดประเทศไทย ว่าเป็นตลาดที่สามารถเติบโตได้อย่างมีนัยยะสำคัญ และด้วยความเป็นเอกลักษณ์ของสถานที่ตั้ง ฐานการผลิตที่แข็งแกร่ง และพนักงานผู้เชี่ยวชาญในด้านยนตรกรรม ทำให้บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป แมนูแฟคเจอริ่ง ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการประกอบยนตรกรรมของบีเอ็มดับเบิลยูในภูมิภาคอาเซียนที่ผ่านมานอกจากนี้ โรงงานบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป แมนู
แฟคเจอริ่ง ประเทศไทย มีการลงทุนอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับการขยายกระบวนการประกอบภายในโรงงานและเพื่อตอบสนอง  ความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ สืบเนื่องจากการจัดซื้อชิ้นส่วนยานยนต์จากประเทศไทยในแต่ละปีเป็นจำนวนมากเพื่อป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิตในประเทศและเพื่อส่งออก คิดเป็นมูลค่ากว่า 4 พันล้านบาทต่อปี บีเอ็มดับเบิลยูจึงจัดตั้งสำนักงานจัดหาชิ้นส่วนยานยนต์ขึ้นในประเทศไทยด้วย เพื่อจัดหาชิ้นส่วนยานยนต์จากซัพพลายเออร์ในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน เพื่อรองรับเครือข่ายการผลิตของบีเอ็มดับเบิลยู 31 แห่ง ใน 15 ประเทศทั่วโลก

บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป แมนูแฟคเจอริ่ง ประเทศไทย สามารถประกอบรถยนต์รุ่นต่างๆ ทั้งหมด 13 รุ่น ได้แก่ บีเอ็มดับเบิลยู ซีรีส์ 3 Gran Turismo บีเอ็มดับเบิลยู ซีรีส์ 5 บีเอ็มดับเบิลยู ซีรีส์ 7 บีเอ็มดับเบิลยู X1 และบีเอ็มดับเบิลยู X3 สำหรับบีเอ็มดับเบิลยู มอเตอร์ราด ได้แก่ บีเอ็มดับเบิลยู F 850 GS บีเอ็มดับเบิลยู F 750 GS บีเอ็มดับเบิลยู R 1200 GS บีเอ็มดับเบิลยู R 1200 GS Adventure บีเอ็มดับเบิลยู S 1000 R บีเอ็มดับเบิลยู S 1000 RR และ บีเอ็มดับเบิลยู S 1000 XR นอกจากนี้ บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป แมนูแฟคเจอริ่ง ประเทศไทยยังขยายสายการประกอบรถยนต์ปลั๊กอิน ไฮบริด 2 รุ่นในประเทศไทย ได้แก่ บีเอ็มดับเบิลยู 530e และบีเอ็มดับเบิลยู 740Le