ระบบกันสะเทือนที่ดีควรเป็นอย่างไร  และมีความแตกต่างกันอย่างไร มีกี่แบบกี่ประเภทกันบ้าง 

ระบบกันสะเทือนที่ดีควรเป็นอย่างไร  และมีความแตกต่างกันอย่างไร มีกี่แบบกี่ประเภทกันบ้าง
                ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจในหลักของการทำงานของมันซะกัน  ว่าตัวระบบกันสะเทือนหรือที่หลายๆ คนรู้จักมันในคำว่า โช้คอัพ นั่นเอง  ซึ่งในบ้านเราเอง ก็จะมีโช้คอัพที่หลายๆ คนคุ้นๆ หู และคุ้นๆ ตาก็จะมีเจ้า โช้คอัพแบบ Telescopic (เทเลสโคปิค) และแบบ Telescopic Upside Down (เทเลสโคปิค อัพไซส์ดาวน์) นั่นเอง บอกเลยว่าตัวโช้คแบบ Upside Down นี่เองที่กำลังได้รับการจับตามองและเป็นที่นิยมอย่างมากในกลุ่มบิ๊กไบค์หลายๆ กลุ่มเลยทีเดียว

หน้าที่หลักการทำงานของมันหลักๆ ก็มีหน้าที่ในการรองรับแรงกระแทกและช่วงลดการสะเทือนจากตัวรถมาถึงตัวผู้ขับขี่  และนอกจากนี้หากมีการเลือกใช้หรือปรับเซตค่าตัวโช้คต่างๆ ให้ดี ในบางรุ่นระดับพรีเมี่ยมก็จะเป็นระบบปรับไฟฟ้าซึ่งนั่นหมายความถึงความนิ่มนวลของตัวรถที่สามารถเลือกได้ ในระหว่างการขับขี่นั่นเอง

  1. โช้คอัพที่ได้รับการติดตั้งเป็นแบบมาตรฐานไม่ว่าจะเป็นในรถมอเตอร์ไซค์ระดับกลางหรือบิ๊กไบค์ก็ตามแต่ ตัวนี้เองจะถูกเลือกเป็นอันดับต้นๆ จนเรียกว่ามันเป็นมาตรฐานไปแล้วก็ว่าได้  นั่นก็คือโช้คอัพแบบ Telescopic ตัวนี้เองจะเป็นโช้คอัพที่ติดตั้งอยู่ตำแหน่งด้านหน้า  หรือโช้คหน้านั่นเอง  ที่เห็นได้อย่างชัดเจนในกลุ่มบิ๊กไบค์ที่ติดตั้งมาให้จากโรงงานกันเลยก็จะมีอยู่ในเจ้าบิ๊กไบค์ยอดนิยม  จำพวกบิ๊กไบค์ตระกูล CBR รุ่นเล็กไปจนถึงรุ่นกลาง ตั้งแต่คลาส 150-650 ซีซี
  2. โช้คอัพอีกตัวที่ก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กันมาอย่างต่อเนื่อง นั่นก็คือโช้คอัพแบบ Telescopic Upside Down ส่วนใหญ่แล้ว จะเห็นติดตั้งอยู่ในบิ๊กไบค์รุ่นใหญ่ๆ ที่ให้คุณภาพการทำงานที่ค่อนข้างสูงทีเดียว และมีอยู่ในโช้คอัพแบรนด์ดังระดับต้นๆ ของโลกหลายๆ แบรนด์ หรือแบรน์ดที่หลายๆ คนไว้วางใจก็จะเป็นเจ้าOhlins
  3. โช้คอัพที่เรียกว่าสร้างความฮือฮาได้ดีไม่น้อย ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ของค่ายปีกนกอย่างเจ้า Honda Boss 400 เคยได้รับความนิยมระดับหนึ่งไม่น้อยกว่าบิ๊กไบค์รุ่นอื่นๆ ในสมัยนั้น ความโดดเด่นของมันคือระบบกันสะเทือนที่ด้านหลังเป็นแบบ Pro Arm (โปรอาร์ม)หรือ สวิงอาร์มแขนเดียวยึดติดกับตัวโช้คนั้นเอง

ส่วนของระบบกันสะเทือนด้านหลัง จะเห็นติดตั้งกับเจ้าสวิงอาร์มคอยซับแรงกระแทกที่มาจากสวิงอาร์ม

  1. ทางค่ายดังโซนยุโรปเลือกใช้ ก็จะเป็นBimota Tesi ที่ติดตั้งโช้คอัพแบบนี้ในตัวรถ เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งจุดเด่นที่กำลังจะแพร่หลายอยู่ในขณะนี้ จะเห็นได้ว่ามีทั้งแบบที่เป็นโมโนโช้ค กับแบบการติดตั้งคู่ที่บริเวณด้านหลัง
  2. โช้คอัพแบบ Four Bar Linkage ซึ่งระบบการทำงานของมันจะมีตัวระบบกันสะเทือนแบบปีกนก 2 ชั้นที่เราสามารถเจอได้ในช่วงล่างของรถปิ๊กอัพ หรือบิ๊กไบค์อย่างเจ้าMoto Guzzi Stelvio1200
  3. โช้คอัพประเภทสุดท้าย ก็เห็นจะเป็นเจ้าตัวโช้คอัพแบบ Telelever (เทเลเลเวอร์) ซึ่งในรูปแบบนี้จะมีจุดเด่นตรงที่มีแขนยึด และมีลักษณะของโช้คอัพที่แยกตัวออกมาอย่างชัดเจน  ซึ่งระบบกันสะเทือนแบบนี้ จะติดตั้งอยู่ในเจ้า BMW 1100S นั่นเอง

ในสกู๊ปนี้อาจจะไม่ได้นำเสนอเกี่ยวกับมอเตอร์ไซค์บิ๊กไบค์โดยตรงแต่ ทางทีมงานRealTimeของเราคิดว่า เรื่องของระบบกันสะเทือนเองก็เป็นส่วนหนึ่งของมอเตอร์ไซค์ซึ่งก็เป็นส่วนสำคัญที่มองข้ามไม่ได้เช่นกัน บางคนถึงขั้นว่าได้รถมาก็เปลี่ยนเป็นโช้คอัพแบรนด์ดังที่ให้ประสิทธิภาพการทำงานที่ค่อนข้างสูงก็เพื่อความปลอดภัยและความนุ่มนวลเลยก็มีครับ แล้วพบกันในScoopหน้านะครับ

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *