น้ำกลั่นแบตเตอรี่

น้ำกลั่นแบตเตอรี่

          หากกล่าวถึงชื่อนี้ น้ำใสๆที่นำไปใส่ในแบตเตอรี่รถยนต์เป็นอย่างดี บางครั้งเราจะเห็นว่าน้ำกลั่นมีแบบมีสีและไม่มีสี ในวันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยของ น้ำกลั่นและวิธีเปลี่ยนกัน

          น้ำกลั่น หรือ distilled water คือ น้ำที่ผ่านกระบวนการทำความร้อนด้วยเครื่องกลั่นน้ำ และระเหยกลายเป็นไอ โดยสิ่งที่เจอปนในน้ำนั้นได้ระเหยไปพร้อมกับไอน้ำ เมื่อไอน้ำกระทบกับความเย็นจนเกิดการควบแน่นจึงทำให้เกิดเป็นหยดน้ำ จึงถือได้ว่าน้ำกลั่นเป็นน้ำบริสุทธิ์ ปราศจากเชื้อโรค โลหะหนัก และสิ่งเจือปนต่างๆ ในเมื่อน้ำกลั่นเป็นน้ำที่บริสุทธิ์ จึงเกิดคำถามต่อมาว่า น้ำกลั่นดื่มได้หรือไม่ คำตอบคือ ไม่ควรดื่ม เนื่องจากน้ำกลั่นเป็นน้ำที่ผ่านการควบแน่นด้วยเครื่องกลั่นน้ำ เพื่อให้แร่ธาตุต่างๆแยกตัวออกจึงไม่มีแร่ธาตุหรือแทบจะไม่มีเลย ดังนั้นหากดื่มน้ำกลั่นที่ปราศจากแร่ธาตุจะส่งผลให้เป็นโรคกระดูกพรุนโรคหัวใจและหลอดเลือด เพราะน้ำกลั่นนี้จะเข้าไปดึงแคลเซียมออกจากกระดูกและหัวใจ ถึงน้ำกลั่นจะส่งผลเสียต่อร่างกายแต่กลับเป็นสิ่งที่สำคัญต่อแบตเตอรี่รถยนต์เป็นอย่างมาก น้ำกลั่นแบตเตอรี่มีความเหนี่ยวนำไฟฟ้าจึงทำให้รถสตารท์ติดและมีค่าความเป็นกรด จะสังเกตุได้ว่าตรงขั้วแบตเตอรี่มักจะมีสีขาวๆเกาะอยู่หรือที่เรียกว่าขี้เกลือ  ในส่วนนี้อาจจะทำให้รถสตารท์ติดยาก เพราะการจ่ายไฟไม่มีประสิทธิภาพพอ จึงต้องหมั่นกำจัดขี้เกลือออก

          น้ำกลั่นมีด้วยกัน 2 สี คือสีชมพูและไม่มีสี  ราคาขายต่างกันและประสิทธิภาพต่างกัน น้ำกลั่นสีชมพูที่เราเห็น จะมีส่วนช่วยในการลดความร้อนของแบตเตอรี่ทำให้เก็บกำลังไฟได้ดีเก็บไฟไว้ได้นานขึ้น เหมาะสำหรับรถที่จอดทิ้งไว้นานๆ ถ้าใช้น้ำกลั่นตัวนี้จะทำให้การชาร์จไฟของรถดีขึ้น

วิธีสังเกตุต้องเติมน้ำกลั่น

1.เช็ดตัวแบตเตอรี่ให้สะอาด

          โดยจะต้องใช้น้ำยาเช็ดกระจกฉีดลงผ้าขี้ริ้ว แล้วเช็ดลงที่ตัวแบตเตอรี่หรือใช้กระดาษทิชชู หากมีเวลามากพอก็ถอดตัวแบตเตอรี่ทำความสะอาดได้ด้วยการใช้น้ำร้อนไปจุ่มลงตรงขั้วแบตเตอรี่เพราะจะช่วยให้ละลายคราบกัดกร่อน

2.ทำความสะอาดใกล้ๆรูเติมน้ำกลั่น

          สามารถทำความสะอาดด้วยการใช้น้ำยาเช็ดกระจก ฉีดใส่กระดาษทิชชูเล็กน้อยและเช็ดไปตรงบริเวณใกล้ๆ รูเติมน้ำกลั่น ซึ่งควรระวังไม่ให้ตัวน้ำยาเช็ดกระจกหรือเศษกระดาษทิชชูลงไปในรูน้ำกลั่น

3.ส่องดูระดับน้ำกลั่น

          สังเกตุตรงเดือยหรือปลายพลาสติกในรูเติมน้ำกลั่นและลองเขย่า หากน้ำกลั่นกระทบกับเดือยรูเติมน้ำกลั่น แสดงว่าน้ำอยู่ในระดับพอดีไม่ต้องเติมแล้ว แต่หากน้ำกลั่นที่มีไม่กระทบตัวเดือย แสดงว่าน้ำกลั่นที่มีเริ่มแห้งแล้ว

4.สังเกตุตาแมว

          แบตเตอรี่แบบใหม่จะสามารถเช็คดูด้วยสัญลักษณ์ตาแมวหรือ Indicator Sign ที่มีอยู่ในตัวแบตเตอรี่ ซึ่งจะมีสัญลักษณ์บงบอกอย่างชัดเจน

          เราจะเห็นได้น้ำกลั่นมีประโยชน์สำหรับรถยนต์ และควรหมั่นตรวจเช็คเพื่อไม่ให้น้ำกลั่นแห้งและส่งผลต่อมาให้แก่รถยนต์ของเรา