ตลาดรถยนต์เดือนเมษายน ยอดขายรวม 30,109 คัน ลดลง 65%

ตลาดรถยนต์เดือนเมษายน ยอดขายรวม 30,109 คัน ลดลง 65%

นายสุรศักดิ์ สุทองวัน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนเมษายน 2563 มียอดการขายรวมทั้งสิ้น 30,109 คัน ลดลง 65% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 8,830 คัน ลดลง 74.7% รถเพื่อการพาณิชย์ 21,279 คัน ลดลง 58.4% ขณะที่ รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 16,733 คัน ลดลง 59.4%

  • ประเด็นสำคัญ

ตลาดรถยนต์เดือนเมษายนมีปริมาณการขาย 30,109 คัน ลดลง 65% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 74.7% และตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 58.4% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าการเติบโตในเดือนนี้ยังคงปรับลดลง ซึ่งเป็นผลจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ภาครัฐฯ ได้ออกมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด   ทำให้หน่วยงานต่างๆ ได้ออกมาตรการการทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) และผู้บริโภคมีความระมัดระวังการใช้จ่ายและชะลอการพิจารณาซื้อรถใหม่ รวมถึงความไม่แน่นอนในอนาคตส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศเกิดการชะลอตัว และส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์

ส่วนตลาดรถยนต์สะสม 4 เดือน มีปริมาณการขาย 230,173 คัน  ลดลง 34.2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 36.6% ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 32.6% เป็นผลมาจากเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายเดือน ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน แต่ยังส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศและในระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์

สำหรับเดือนพฤษภาคมทางภาครัฐฯ ได้มีการผ่อนปรนมาตรการปิดเมือง ปรับเวลาเคอร์ฟิว แต่ยังคงให้ประชาชนเฝ้าระวังการใช้ชีวิตตามมาตรการความปลอดภัยเพื่อช่วยให้เกิดการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ลดความ
ตึงเครียดในการใช้ชีวิตของประชาชน ที่สำคัญหลายค่ายรถยนต์ได้กลับมาเปิดสายการผลิตอีกครั้ง ทำให้แนวโน้ม
ตลาดรถยนต์ในเดือนพฤษภาคมมีทิศทางดีขึ้นจากเดือนเมษายน 

  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนเมษายน 2563
  1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 30,109 คัน ลดลง 65%

อันดับที่ 1 โตโยต้า      11,084 คัน      ลดลง      58.9%         ส่วนแบ่งตลาด 36.8%

อันดับที่ 2 อีซูซุ           6,865 คัน       ลดลง      55.4%         ส่วนแบ่งตลาด 22.8%

อันดับที่ 3 ฮอนด้า      2,648 คัน       ลดลง      76.6%         ส่วนแบ่งตลาด  8.8%

  1. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 8,830 คัน ลดลง 7%

อันดับที่ 1 โตโยต้า      2,906 คัน       ลดลง       71.2%        ส่วนแบ่งตลาด 32.9%

อันดับที่ 2 ฮอนด้า      2,229 คัน       ลดลง       74.1%        ส่วนแบ่งตลาด 25.2%

อันดับที่ 3 นิสสัน        1,072 คัน       ลดลง       56.9%        ส่วนแบ่งตลาด 12.1%

  1. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 21,279 คัน ลดลง 4%          

อันดับที่ 1 โตโยต้า      8,178 คัน       ลดลง     51.5%         ส่วนแบ่งตลาด 38.4%

อันดับที่ 2 อีซูซุ                   6,865 คัน        ลดลง     55.4%         ส่วนแบ่งตลาด 32.3%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด        1,205 คัน       ลดลง     73.1%         ส่วนแบ่งตลาด  5.7%

  1. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)

ปริมาณการขาย 16,733 คัน ลดลง 59.4%

อันดับที่ 1 โตโยต้า       7,019 คัน      ลดลง      53.1%         ส่วนแบ่งตลาด 41.9%

อันดับที่ 2 อีซูซุ             6,267 คัน      ลดลง      56.0%         ส่วนแบ่งตลาด 37.5%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด        1,205 คัน       ลดลง      73.1%        ส่วนแบ่งตลาด  7.2%

                               *ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 1,575 คัน

                                       โตโยต้า 753 คัน –  อีซูซุ 322 คัน – มิตซูบิชิ 219 คัน – ฟอร์ด 211 คัน – เชฟโรเลต 45 คัน – นิสสัน 25 คัน

  1. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 15,158 คัน ลดลง 2%

อันดับที่ 1 โตโยต้า       6,266 คัน       ลดลง      52.2%         ส่วนแบ่งตลาด 41.3%

อันดับที่ 2 อีซูซุ           5,945 คัน       ลดลง      55.0%         ส่วนแบ่งตลาด 39.2%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด            994 คัน      ลดลง      73.7%         ส่วนแบ่งตลาด  6.6%

 

 

 

 

 

  • สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – เมษายน 2563
  1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 230,173 คัน ลดลง 2%

อันดับที่ 1 โตโยต้า      67,245 คัน      ลดลง      40.6%         ส่วนแบ่งตลาด 29.2%

อันดับที่ 2 อีซูซุ                    49,263 คัน      ลดลง      18.3%         ส่วนแบ่งตลาด 21.4%

อันดับที่ 3 ฮอนด้า      31,326 คัน      ลดลง      24.2%         ส่วนแบ่งตลาด 13.6%

  1. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 87,215 คัน ลดลง 6%                                

อันดับที่ 1 ฮอนด้า      26,188 คัน      ลดลง     15.9%           ส่วนแบ่งตลาด 30.0%

อันดับที่ 2 โตโยต้า      21,567 คัน      ลดลง     47.4%           ส่วนแบ่งตลาด 24.7%

อันดับที่ 3 นิสสัน        9,763 คัน       ลดลง     27.3%           ส่วนแบ่งตลาด 11.2%

  1. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 142,958 คัน ลดลง 6%                    

อันดับที่ 1 อีซูซุ                    49,263 คัน      ลดลง     18.3%           ส่วนแบ่งตลาด 34.5%

อันดับที่ 2 โตโยต้า      45,678 คัน      ลดลง     36.7%           ส่วนแบ่งตลาด 32.0%

อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ      11,031 คัน      ลดลง    37.0%         ส่วนแบ่งตลาด  7.7%

  1. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)

ปริมาณการขาย 113,696 คัน ลดลง 34.6%

อันดับที่ 1 อีซูซุ           45,887 คัน      ลดลง     17.8% ส่วนแบ่งตลาด 40.4%

อันดับที่ 2 โตโยต้า      39,752 คัน      ลดลง     38.2% ส่วนแบ่งตลาด 35.0%

อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ      11,031 คัน      ลดลง     37.0% ส่วนแบ่งตลาด  9.7%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 11,415 คัน

โตโยต้า 4,073 คัน – มิตซูบิชิ 2,845 คัน – อีซูซุ 2,085 คัน – ฟอร์ด 1,509 คัน – เชฟโรเลต 589 คัน –นิสสัน 314 คัน

  1. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 102,281 คัน ลดลง 4%

อันดับที่ 1 อีซูซุ                    43,802 คัน      ลดลง      15.9%         ส่วนแบ่งตลาด 42.8%

อันดับที่ 2 โตโยต้า      35,679 คัน      ลดลง      34.9%         ส่วนแบ่งตลาด 34.9%

อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ         8,186 คัน     ลดลง      35.9%              ส่วนแบ่งตลาด  8.0%