วิธีการตรวจเช็คผ้าเบรกทั้งรถยนต์และมอเตอร์ไซค์

วิธีการตรวจเช็คผ้าเบรกทั้งรถยนต์และมอเตอร์ไซค์

          ผ้าเบรกของคุณใกล้หมดหรือยัง? ระบบเบรก เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ทำหน้าที่ชะลอความเร็วของรถ หรือทำให้รถหยุด ตามความต้องการของผู้ขับขี่รถ ซึ่งรถส่วนใหญ่ในปัจจุบันใช้ในการถ่ายทอดแรงเหยียบที่เป็นเบรก ไปถึงตัวอุปกรณ์หยุดล้อด้วยระบบไฮดรอลิกซ์ มาสังเกตและดูสัญญาณเตือนของรถคุณว่ามีอาการเหล่านี้ไหม

อาการของรถยนต์เมื่อผ้าเบรคหมด

  1. เบรคจม หรือเบรคต่ำคือ เมื่อเหยียบเบรคแล้วรู้สึกเบรกจมต่ำกว่าปกติ หรือเหยียบเบรกค้างไว้แล้วแป้นเบรกค่อยๆ ต่ำลงเอง
  2. ไฟเบรคมือโชว์เตือนติดค้างเป็นสีแดง หมายถึง ผ้าเบรคกำลังเสื่อมสภาพ สึกหรอบาง ทำให้น้ำมันเบรกในกระปุกต่ำกว่าขีด MIN สวิตช์ไฟในกระปุกน้ำมันไม่ต่อกันไฟจึงโชว์ค้าง
  3. มีเสียงดังจากล้อรถยนต์เหมือนเหล็กสีกัน ขณะเหยียบเบรค เป็นเสียงที่กำลังบอกเราว่า ผ้าเบรคบางจนถึงแผ่นเหล็กที่เป็นตัวเตือน เมื่อแผ่นเหล็กนี้สีกับจานเบรกจะทำให้เกิดเสียงดัง

ถ้ารถยนต์ของคุณมีอาการดังกล่าว ให้รีบหาร้านซ่อมรถเพื่อเปลี่ยนผ้าเบรกทันที อย่าปล่อยไว้หรือขับไปทั้งๆ ที่มีอาการเช่นนั้น และหลังจากได้เปลี่ยนผ้าเบรคแล้ว ไม่ควรขับรถเร็วๆ และเบรกกะทันหัน หรือเบรคอย่างรุนแรง ให้ผ้าเบรคได้ปรับตัวกับจานเบรกอย่างช้าๆ และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

อาการของมอเตอร์ไซค์เมื่อผ้าเบรคใกล้หมด

  1. สังเกตด้วยตาเปล่า

เราสามารถมองเห็นได้ด้วยตา เพราะผ้าเบรกด้านหน้าไม่ได้ซ่อนจนมิด เราสามารถมองเห็นความหนา บาง ของผ้าเบรกที่เราใช้งานอยู่ แต่ในบางรุ่น อาจไม่อยู่ในมุมที่เราจะมองเห็นความหนาผ้าเบรก บางทีอาจต้องใช้ไฟฉายส่องช่วย ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ หากเราใช้งานทุกวัน โดยเฉพาะเมื่อเตรียมตัวออกทริปใหญ่ค้างคืนตามต่างจังหวัด ถือเป็นการเช็คความพร้อมของรถให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานทางไกลสูงสุดครับ เพื่อความปลอดภัย

  1. เช็คจากเกจ์วัดกระปุกน้ำมันเบรค

สำหรับการเช็คว่าผ้าเบรกหมดหรือไม่ จากกระปุกน้ำมันเบรกนั้น เป็นอีกวิธีที่ทำได้ง่าย และรวดเร็วครับ นั่นเพราะว่าหลักการของคาลิปเปอร์ในการดันผ้าเบรกให้บีบกับจานนั้น จะต้องอาศัยน้ำมันเบรกเป็นตัวช่วยดันลูกสูบเวลาที่เราบีบก้านเบรค ซึ่งหากผ้าเบรคบางลง หรือเหลือน้อย น้ำมันเบรคจะต้องเข้าไปแทนที่ในส่วนของเนื้อผ้าเบรคที่หายไป เพื่อให้การเบรคยังมีประสิทธิภาพเท่าเดิม นั่นเป็นเหตุผลให้น้ำมันเบรคเมื่อเราส่องจากกระปุกด้านบน จะพบว่าน้ำมันเบรคมีปริมาณลดลงเมื่อผ้าเบรคใกล้หมด

  1. ลองฟังเสียงขณะเบรค

ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์แต่ละท่านจะสามารถตรวจสอบผ้าเบรคด้วยวิธีการข้างต้นได้ แต่กลับพบว่าหลายๆ ครั้งลูกค้าที่เข้ามาเปลี่ยนผ้าเบรค เกิดจากได้ยินเสียงขณะเบรครถ อันเนื่องมาจากเนื้อผ้าเบรคหมดเกลี้ยงแล้วทำให้แผ่นเหล็กที่เป็นตัวยึดเนื้อผ้าเบรคมาเสียดสีกับจานเบรค ซึ่งสิ่งนี้ถือว่าอันตรายมากหากผู้ใช้รถยังคงฝืนขี่ต่อไป เพราะแผ่นเหล็กที่ไว้ยึดผ้าเบรคนั้นไม่ได้ออกแบบสำหรับมาเสียดสีกับจานเบรค ทำให้ทุกครั้งที่เราเบรค เหล็กกับเหล็กจะเสียดสีกัน ทำให้จานเบรคสึก (หรือที่เรียกว่ากินจาน) จานอาจจะคดงอทำให้ไม่สามารถใช้การได้อีก และ เกิดความร้อนสูงสะสมซึ่งอาจส่งผลให้น้ำมันเบรคเดือดเกิดอากาศในระบบ ทำให้เบรคจมหายไปแต่รถไม่ชะลอ หรือที่เรียกกันว่าเบรคแตก

  1. จับสัมผัสประสิทธิภาพของการเบรค

การจับสัมผัสประสิทธิภาพการเบรคของรถ ว่ามันลดลงหรือไม่ แค่ไหน มีระยะเบรกเพิ่มขึ้น ต้องบีบก้านเบรกลึกขึ้นหรือไม่ และมีอาการสั่น หรือเสียงกระพรือ ยามที่เราบีบเบรคหรือไม่ ซึ่งขั้นตอนนี้อาจจะยากสักหน่อย เนื่องจาก รถที่เราใช้จนติดเป็นความเคยชินนั้น ระบบเบรคและระยะเบรคที่ลดประสิทธิภาพลงทุกครั้งที่เราใช้งาน แต่ตัวผู้ขับขี่ก็จะชินกับระยะและสัมผัสการเบรคที่ค่อยๆ ด้อยลงทีละน้อยๆ ด้วยเช่นกัน แถมสมองยังปรับสภาพและเพิ่มประสิทธิภาพในการเบรคด้วยการเติมแรงบีบให้มากขึ้น สายตาจะมองระยะวัตถุด้านหน้า และคาดคะเนระยะการเบรคที่ปลอดภัยให้มากขึ้น จนลืมนึกถึงสัมผัสการเบรคที่มีประสิทธิภาพในตอนแรกไป พิสูจน์ได้จากเมื่อเปลี่ยนผ้าเบรคชุดใหม่ ผู้ขับขี่จะรู้สึกว่าเบรคมีประสิทธิภาพขึ้น

  1. สัมผัสจากจิตใต้สำนึก

ที่พูดมาเช่นนี้เพราะส่วนใหญ่หากใช้รถเป็นประจำทุกๆ วัน ย่อมรู้ดีถึงประสิทธิภาพในอุปกรณ์การใช้งานรถของคุณ

­

ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นเพียงความรู้เบื้องต้น ซึ่งแต่ละคนอาจมีเทคนิคหรือวิธีที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งขึ้นอยู่กับความใส่ใจ และเพื่อความปลอดภัยของท่านและผู้ร่วมทาง นอกจากน้ำมันเครื่อง ยางรถยนต์ หรือส่วนต่างๆในรถ ที่ต้องมั่นเช็คและคอยสังเกตอยู่ตลอดเวลาแล้ว สิ่งที่เป็นหัวใจหลักในการขับขี่รองจากสติและความไม่ประมาทคือ “ผ้าเบรคของรถ” ที่จะช่วยลดไม่ให้คุณเกิดอุบัติเหตุในการขับขี่ และทำให้การเดินทางของคุณมั่นใจมากยิ่งขึ้น ในการตรวจเช็ครถของคุณอย่างสม่ำเสมอ ช่วยให้อายุการใช้งานของรถคุณ

สำหรับคราวหน้ามีอะไรดีๆมาแนะนำอีก สามารถรอติดตามได้ที่ Realtime Car Magazine