ตัวเลขบนแกลอนน้ำมันเครื่องบอกอะไรบ้าง

(0W-30 / 5W-30 / 10W-30 / 15W-40 / 20W-50)

            ว่ากันด้วยเรื่องของน้ำมันเครื่อง สำหรับในคอลัมน์นี้เราจะมาบอกให้หลายๆท่านได้กระจ่างรู้แจ้งเห็นจริงกันในเรื่องของการเลือกซื้อน้ำมันเครื่อง และความหมายของตัวเลขที่อยู่บนแกลอนน้ำมันเครื่องที่เราซื้อใช้กันอยู่นั้นมันคืออะไร มันบอกอะไรเราจะอธิบายกันแบบให้เข้าใจง่ายๆไม่ซับซ้อนครับ เพื่อความเข้าใจของท่านผู้อ่านทุกท่าน

oil6

            ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับตัวน้ำมันเครื่องกันก่อนครับว่ามันมีหน้าที่อะไร ทำไมถึงต้องใส่เข้าไปในเครื่องยนต์ นึกภาพตามง่ายๆน้ะครับ ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ผลิตจากวัสดุที่เป็นเหล็กและเมื่อเครื่องยนต์มีการทำงานสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือการเสียดสีกันครับ และเมื่อมีการเสียดสีกันเป็นเวลานานมากยิ่งขึ้นแน่นอนที่สุดครับ เกิดการสึกหรอขึ้นอย่างแน่นอน เพื่อลดการสึกหรอของชิ้นส่วนเครื่องยนต์ จึงต้องมี สารชนิดหนึ่งที่เรียกกันว่าน้ำมันเครื่องเข้ามาช่วยในเรื่องของการหล่อลื่นและลดการเสียดสี ซึ่งสารตัวนี้จึงต้องมีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถทนต่อความร้อนที่เกิดขึ้นได้ในขณะที่เครื่องยนต์ทำงาน และยังต้องสามารถรักษาสถานะให้คงอยู่ได้ดีในอุณภูมิปกติหรือต่ำกว่าได้อย่างสมบูรณ์แบบด้วย

การวัดความต้านทานการเป็นไข โดยวัดตั้งแต่อุณหภูมิต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส ต่ำลงมาจนถึงจุดเยือกแข็งตั่งแต่ 0 องศา จนถึงต่ำกว่า – 30 องศาเซลเซียส โดยมีตัวอักษรระบุไว้เป็นตัวอักษร W หรือ WINTER เช่น

oil4

0W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ต่ำกว่า – 30 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข

5W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง – 30 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข

10W= สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง – 20 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข

15W= สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง – 10 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข

20W= สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง 0 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข

ส่วนเรื่องของค่าความหนืด การวัดค่าความหนืดจะวัดกันที่ 100 องศาเซลเซียส ได้เป็นออกมาเป็นค่าความหนืด แทนค่าออกมาเป็นตัวเลขเรียกว่า เบอร์ของน้ำมันเครื่อง เพื่อให้เป็นมาตรฐานสากลเหมือนกันทั่วโลก ทุกๆสถาบันจึงได้แทนค่าความหนืด ออกมาเป็นตัวเลขในรูปของเบอร์ของน้ำมันเครื่อง เช่น 60, 50, 40, 30, 20, 10 และ 5 ค่าตัวเลขยิ่งมากยิ่งมีความหนืดมาก ตัวเลขน้อยยิ่งมีความหนืดน้อยตามลำดับ

ทีนี้เรามาดูกันครับว่าน้ำมันเครื่องที่มีขายกันอยู่ในท้องตลาดนั้นมีกี่แบบและแบบไหนที่จะเหมาะกับรถของเราครับ

oil3

1. น้ำมันเครื่องธรรมดา(มีความหนืด) (Synthetic) เป็นน้ำมันเครื่องที่ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นที่กลั่นจากน้ำมันปิโตรเลียม สามารถใช้งานได้ประมาณ 3,000-5,000 กม.

oil1

2. น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์(หนืดเล็กน้อย) (Semi Synthetic) เป็นน้ำมันเครื่องที่ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นธรรมดากับน้ำมันเครื่องชนิด สังเคราะห์ สามารถใช้งานได้ประมาณ 5,000-7,000 กม.

oil2

3. น้ำมันเครื่องสังเคราะห์(ใส) (Fully Synthetic) เป็นน้ำมันเครื่องที่ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นที่สังเคราะห์จากน้ำมัน ปิโตรเลียม สามารถใช้งานได้ประมาณ 7,000-10,000 กม.

สรุปกันแบบเข้าใจง่ายๆน้ะครับ รถยนต์รุ่นใหม่ๆหรือรถที่ยังใหม่อยู่ใช้น้ำมันเครื่องแบบ FULLY Synthetic และ Semi Syntetic ได้ เนื่องจากเครื่องยนต์ยังคงความสดอยู่ไม่มีการสึกหรอ ส่วนรถกลางเก่ากลางใหม่ก็สามารถใช้ Semi Synthetic ได้ ส่วนรถยนต์ที่เป็นเครื่องยนต์รุ่นเก่าควรใช้แบบ Synthetic เนื่องจากเครื่องยนต์มีการใช้งานมานานหลายปีมีความสึกหรอเกิดขึ้นบ้างตามกาลเวลา จึงต้องอาศัยความหนืดของน้ำมันเครื่องเข้ามาช่วงปกป้องเพื่อยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์

oil5