BATTERY มีสาระ….!!

BAT4

          ยังคงมีเกร็ดความรู้มาฝากเพื่อนๆกันอีกเช่นเคยครับ สำหรับในคอลัมน์นี้เราจะมาพูดคุยกันในเรื่องของแบตเตอรี่รถยนต์ หลายคนอาจจะรู้จักหรืออาจจะมีอีกหลายคนที่ไม่รู้จัก และบางคนไม่รู้ว่ามันมีหน้าที่อะไรและเราควรดูแลรักษามันอย่างไร เพื่อที่จะให้เจ้าแบตเตอรี่มันอยู่กับเราไปนานๆ และแบตเตอรี่มีให้เลือกใช้งานกี่ประเภท แบบไหนเหมาะกับรถคุณ เราจะมาอธิบายให้ได้รู้กันแบบเข้าใจง่ายๆแบบภาษาเช้าบ้านกันเลยครับ

BAT5

  • แบตเตอรี่มีกี่ประเภท ตอบกันแบบสั้นๆง่ายๆครับว่ามี 2ประเภท

1 แบตเตอรี่เปียก แบตเตอรี่ชนิดนี้ถือว่าเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายซึ่งก็จะแบ่งออกได้เป็นสองประเภทก็คือ แบบที่ต้องดูแลเติมน้ำกลั่นบ่อย และแบบที่ไม่ต้องดูแลเติมน้ำกลั่นบ่อย อายุการใช้งานอยู่ที่ประมาณ 1ปีครึ่ง-2ปี  ซึ่งก็ขึ้นอยู่ที่การใช้งานและการดูแลรักษาของแต่ลคนอีกด้วย แต่ถึงอย่างไรก็ตามเมื่อถึงระยะเวลาที่ควรจะเปลี่ยนก็ไม่ควรที่จะยื้อเวลาให้นานเกินไป อาจส่งผลเสียให้กับรถของท่านได้

BAT2

2 แบตเตอรี่แห้ง แบตเตอรี่ชนิดนี้สามารถใช้งานกันแบบสบายใจกันไปเลยครับ เปลี่ยนเสร็จก็ใช้กันยาวๆ ไม่ต้องคอยกังวลเรื่องน้ำกลั่น อายุการใช้งานยาวนาน 5-10ปีกันเลยทีเดียว แต่ราคาค่าตัวก็สูงขึ้นไปตามมาตรฐานนั่นแหละครับ อันนี้ก็ขึ้นอยู่ที่ความพอใจของแต่ละคนครับ

BAT3

  • ดูแลรักษาอย่างไรให้แบตเตอรี่อยู่กับเราจนครบอายุไข หัวข้อนี้เราจะพูดถึงแบตเตอรี่แบบเติมน้ำกลั่นครับ ด้านบนของแบตเตอรี่จะมีช่องสำหรับเติมน้ำ ให้หมั่นคอยเปิดฝาดูทุกช่องว่าน้ำในแบเตอรี่ยุบลงไปต่ำกว่าขีดหรือไม่ถ้าต่ำกว่าขีดให้เติมน้ำกลั่นได้ทันที ในการเติมน้ำกลั่นทุกครั้งห้ามเติมให้ล้นออกมา ควรเติมให้อยู่ในตำแหน่งที่ระบุไว้

BAT7

  • จะรู้ได้อย่างไรว่าแบตเตอรี่จะหมดอายุ เบื้องต้นดูจากระยะการใช้งานก่อนว่าใกล้ถึงระยะกำหนดที่จะเปลี่ยนหรือยัง วิธีสังเกตอีกหนึ่งอย่างก็คือใช้การฟังเสียงเมื่อเราสตาร์ทรถ ถ้าเมื่อไหร่ที่เรารู้สึกว่าเวลาที่เราสตาร์ทรถแล้วเสียงมันดูช้าๆเหนือยๆ ไม่เร็วเหมือนตอนเปลี่ยนไหม่ๆ นั่นคืออาการของแบตเตอรี่เริ่มมีกำลังไฟที่อ่อนลงแล้ว ควรที่จะเปลี่ยนได้ทันที

BAT6

เมื่อรู้กันแล้วก็อย่าลืมหมั่นเปิดฝากระโปรงรถตรวจเช็คแบตเตอรี่กันด้วยน้ะครับ จะได้ยืดอายุการใช้งานออกไปได้อีก ช่วงนี้ฝนตกติดต่อกันหลายวัน ใช้รถใช้ถนนกันด้วยความระมัดระวังน้ะครับ ด้วยความห่วงใยจาก REAL TIME CAR MAGAZINE