แต่งรถยังไงให้พี่จ่าไม่จับ

เปิดมาเจอคอลัมน์นี้เหล่าบรรดาขาซิ่งหรือผู้ที่มีใจรักในการแต่งรถต้องเบรกกันหัวทิ่มหัวต่ำ เลี้ยวเข้ามาอ่านกันเลยทีเดียว เพื่อที่จะได้ขับรถคันโปรดของตัวเองผ่านเข้าด่านได้อย่างสบายใจ ใบขับขี่และเงินในกระเป๋ายังคงอยู่ที่เดิม เรียกได้ว่าแต่งรถได้ดั่งใจ ไม่ขัดใจพี่จ่า ก็อย่างว่าแหละครับบ้านเมืองมีขื่อมีแป จะทำอะไรก็ต้องเคารพกฎหมายกันบ้าง เจ้าหน้าที่บ้านเมืองจะได้ไม่ต้องทำงานหนักมาก ว่าแต่ว่าแต่งแบบถูกกฎหมายมันจะทำได้จริงมั้ยต้องเข้าไปดูกันครับในคอลัมน์นี้

จะว่าไปแล้วถ้าพูดกันถึงเรื่องของการแต่งรถนั้น ถ้าจะทำให้มันถูกกฎหมาย ในบางทีบางครั้งมันก็อาจจะดูเหมือนขัดแย้งกันไปบ้าง แต่ที่จริงแล้วถ้าได้มาเจอกันคนละครึ่งทางระหว่างความถูกกฎ กับความถูกใจมันก็พอที่จะจูงมือไปด้วยกันได้ แต่จะแต่งแบบไหนถึงจะถูกต้องนั้นเราไปดูกันทีละหัวข้อเลยครับ

MO 1

  • โหลดเตี้ย เป็นความพยายามและความเข้าใจของคนแต่งรถว่า รถที่เตี้ยต่ำจะยึดเกาะกับถนนได้ดีขึ้นซึ่งก็เป็นเรื่องจริง แต่ไม่ทั้งหมด การยึดเกาะที่ดีของรถยนต์ยังเกิดขึ้นจากช่วงล่างที่สมบูรณ์ ยางที่สดใหม่และอยู่ในสภาพดี สำหรับกฎหมายเกี่ยวกับการโหลดรถตาม พรบ.รถยนต์ พ.ศ. 2522ระบุไว้อย่างชัดเจนว่ารถที่โหลดเตี้ยจะต่ำแค่ไหนก็ได้ โดยยึดหลักเพียงการวัดระยะกึ่งกลางไฟหน้า กับระดับพื้นถนนต้องไม่ต่ำกว่า ถ้าต่ำกว่าถือว่าผิด แต่ถ้าไฟหน้าสูงกว่าแต่รถใส่สปอยเลอร์จนเตี้ยต่ำแทบจะลากพื้น จะใช้กฎการพินิจจากเจ้าหน้าที่ตำรวจนายช่างตรวจสภาพกรมการขนส่งทางบก และผู้วินิจฉัยผล ตรอ. ว่าเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือสร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้อื่นหรือไม่ ถ้าฟันธงว่าเสี่ยงก็ถือว่าผิดได้เช่นกันครับ

mo 2

  • ยกสูง รถยนต์แบบออฟโรดที่มีสัดส่วนความสูงมากกว่ารถเก๋งเนื่องจากสภาพการใช้งานที่ต้องบุกป่าฝ่าทางวิบาก หากใต้ท้องรถไม่สูงพอก็อาจติดกับร่องทางหรือหล่มโคลนจนไปต่อไม่ได้ ใน พรบ.รถยนต์ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า จะยกสูงแค่ไหน แต่ต้องวัดระดับกึ่งกลางไฟหน้ากับพื้นถนนต้องไม่สูงกว่า แต่ถ้าไฟหน้าสูงไม่เกิดแต่รถโด่งมาก มีการดัดแปลงสภาพมากทั้งเสริมโช้คยกตัวถัง การปรับแต่งรถแบบยกสูงมากนั้นต้องมีหนังสือจากวิศวกรรองรับการดัดแปลงสภาพ และต้องแจ้งกับกรมการขนส่งทางบกว่ามีการดัดแปลงเพื่อใช้งานในเขตทุรกันดาน แต่ถ้ายกไม่สูงมาก แต่ใส่ยางใหญ่เกินจนล้นออกมาข้างตัวรถมากๆ เกินบังโคลนล้อ ก็ต้องใช้หลักดุลพินิจอีกเช่นกันว่าเสี่ยงต่อผู้ร่วมใช้ถนนหรือไม่

2008 Honda Accord EX-L V-6 Sedan (white).

  • ใส่ล้อ 18/19/20/22 แบบเต็มซุ้มเพื่อความหล่อและอำนาจของการยึดเกาะ ในกำหมายไม่มีการระบุขนาดของล้อและขนาดก็ไม่ได้มีผลการเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ดังนั้น จะใส่ล้อใหญ่ขอบ 18/19/20หรือ22ก็สามารถทำได้แบบสะดวก แต่ถ้าใส่แล้วยางล้นเกินออกมานอกบังโคลนล้อข้างละหลายนิ้ว เจ้าหน้าที่ที่ตั้งด้านได้ตรวจพบว่าอาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือสร้างความเดือนร้อนแก่ผู้อื่น ก็ถือว่าผิดได้หรือใส่ล้อใหญ่จนต้องแบะล้อเพื่อหลบซุ้ม การทำแบบนั้นนอกจากรถจะไม่เกาะถนนแล้วยังเป็นการทำร้ายช่วงล่างอย่างรุนแรงอีกด้วย

mo 4

  • ดึงโป่ง WIDE BODY ซึ่งในปัจจุบันเริ่มลดน้อยลงไปมากเนื่องจากรถยนต์สมัยใหม่มีโป่งล้อมาให้แบบจุใจ ในกฎหมายไม่ได้ระบบไว้ชัดเจนในเรื่องของโป่งล้อ แต่ก็มีระบบไว้ว่า ส่วนที่ตียื่นต้องมีลักษณะเป็นชิ้นเดียวกับตัวรถหรือถ้าเป็นวัสดุคนละชิ้นกันต้องมีการยึดติดอย่างแน่นหนา ถ้าไม่แน่นหนาหรือตีโป่งยื่นออกมามาก เจ้าหน้าที่มีสิทธิ์ขอตรวจดูสำเนาการจดทะเบียนว่ามีการดัดแปลงเกินกว่าที่จะทะเบียนไว้หรือไม่ โดยอ้างอิงจากบริษัทผู้ผลิตถึงขนาดตัวรถและฐานล้อ วึ่งต้องใช้วิศวกรรับรองการดัดแปลงสภาพ และต้องแจ้งกับกรมการขนส่งทางบก ถ้าขนส่งตรวจแล้วลงความเห้นว่าผ่านก็โชคดีไป แต่ถ้าไม่ผ่านก็ต้องเลาะออกกันไปตามระเบียบ

mo 5

  • ฝากระโปรงหน้า-หลัดำ ฝากระโปรง หลังคา คาร์บอน นักแต่งรถส่วนมากมักนิยมเปลี่ยนฝากระโปรงแบบเดิมให้กลายเป็นฝาแบบคาร์บอน เพื่อลดน้ำหนักและเพิ่มความขลังในมุมมอง หากทำการพ่นเป็นสีเดียวกับตัวรถ ที่จดทะเบียนไว้ถือว่าไม่ผิด แต่ถ้าเปลี่ยนสีฝากระโปรงเป็นสีดำ หรือสีอื่น ที่ไม่ตรงกับสีตัวรถ เจ้าหน้าที่จะพิจารณาตามกฎที่ว่า รถยนต์ที่จะทะเบียนจะมีการระบุสีตัวรถไว้อย่างชัดเจน ไม่รวมสีของกันชนรถ โดยสีอื่นต้องมีไม่เกินครึ่งหนึ่งของสีหลักที่จดทะเบียนไว้ เช่น ในกรณีรถระบุไว้ในทะเบียนว่าเป็นสีขาวแต่ฝากระโปรงหน้าเป็นสีดำ เจ้าหน้าที่พินิจแล้วไม่เกินครึ่งหนึ่งก็ถือว่าไม่ผิด แต่พินิจว่าผิดก้ถือว่าผิดได้เช่นกัน แต่ถ้าดำทั้งฝากระโปรงหน้าและหลังส่วนมากจะพินิจว่าผิด เกิด 50%ของสีหลัก ซึ่งเจ้าของรถต้องนำรถเข้าไปแจ้งเปลี่ยนสี ว่าเป็นรถสองสี กับกรมการขนส่งทางบกเสียก่อน ถ้าไม่แจ้งก็อาจต้องโทษปรับไม่เกิน 2,000บาท

mo 6

  • เปลี่ยนท่อไอเสีย/เฮดเดอร์ จะเปลี่ยนท่อใหญ่ 3นิ้ว 4นิ้ว จะมีหม้อพักกี่ใบ หรือจะไม่มีหม้อพักเลยก็ได้แต่หม้อพักต้องปล่อยออกทางท้ายรถเท่านั้น ถ้าออกข้างตัวรถก็ถือว่าผิดทันที ตามกฎหมายจะระบุไว้แค่การวัดเสียงดังที่ปล่อยออกจากปลายท่อตาม พรบ.รถยนต์ระบุว่า รถยนต์ที่เกิน7ปี ต้องนำรถเข้าตรวจสภาพ ณ สถานตรวจสภาพ เพื่อตรวจวัดระดับเสียงที่ปลายท่อไอเสียด้วยเครื่องวัด ผลที่ได้ต้องไม่เกิด 100เดซิเบล วัดที่ 3/4รอบที่ให้แรงม้าสูงสุด

mo 7

  • ไฟหน้าหลายสี ไฟซี่นอนกำลังส่องสว่างแรงสูง ไฟท้ายขาวใสแนวซิ่ง โคมขาว โคมดำ พ่นสีดำ ที่โคมไฟหน้าและไฟท้าย ปัจจุบันไฟหน้าแบบซีนอน ยังไม่มีกฎหมายออกมารองรับ จึงอนุญาตให้ติดได้ เพียงแต่ติดตั้งแล้วเมื่อแครื่องมือทดสอบโคมไฟลำแสงต้องมีองศาตกลงจากแนวระนาบ ไม่น้อยกว่า 2 องศา และต้องไม่เบนไปทางขวา ถึงเรียกว่าผ่าน ส่วนเรื่องสีของไฟ โคมไฟหน้าทางกรมกำหนดไว้เพียง 2สีเท่านั้น คือสีเหลืองอ่อน และสีขาว ถ้าเป็นสีอื่น เช่น สีฟ้า สีม่วง สีเหลืองเข้มหรือสีเขียว มีความผิดแน่นอน ส่วนไฟเบรกต้องเป็นสีแดง ไฟเลี้ยงต้องเป็นสีเหลืองอำพัน ไฟส่องป้ายทะเบียนต้องเป็นสีขาวมองเห็นป้ายทะเบียนได้ไกลไม่น้อยกว่า 20เมตร

mo 8

  • ไฟสปอร์ตไลต์ และโคมไฟตัดหมอก ติดตั้งอย่างไรถึงจะไม่ผิด โคมไฟสปอร์ตไลต์ หมายถึง โคมไฟแสงพุ่งไกล แบบกระจายวงกล้าง แบบนี้ห้ามติดโดยเด็ดขาดแม้จะมีฝาครอบปิด ผิด พรบ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 ส่วนไฟตัดหมอกมีลักษณะเป็นไฟแสงพุ่งต่ำ ล่าสุดพรบ.ปี 2536 อนุยาตให้รถยนต์ติดไฟสปอร์ตไลต์หรือไฟตัดหมอกเพิ่มได้ข้างละ 1 ดวง ในระดับแนวเดียวกัน ความสูงจากพื้นถนนไม่ตำกว่า และไม่สุงกว่า 135cm.ต้องเป็นแสงสีเหลืองหรือสีขาว กำลังไฟไม่เกิน 55w ไม่เกินกว่าระดับโคมไฟแสงพุ่งไกลและโคมไฟแสงพุ่งต่ำศูนย์รวมแสงต้องต่ำกว่าแนวขนานกับพื้นราบไม่น้อยกว่า 2องศาในระยะ 7.5เมตรและไม่เฉไปทางขวา

mo 10

  • ตีโรลบาร์แบบรถแข่ง กฎหมายว่าด้วยห้องโดยสารมีเพียงข้อกำหนด เรื่องของจำนวนที่นั่ง มาตราวัดความเร็ว และไฟห้องโดยสารเท่านั้น ส่วนการตีโรลบาร์ยังไม่มีกฎหมายออกมารองรับจึงไม่ผิด แต่การถอดเบาะหลังออกแล้วตีโรลบาร์ จะผิดกฎหมายเรื่องการระบะลักษณะรถ และจำนวนตอน ถือว่าผิดครับ รวมถึงความแน่นหนาความเสี่ยงต่ำการเกิดอุบัติเหตุ ก็ถือว่าผิดได้อีกเช่นกัน ยิ่งถอดเบาะออกเหลือตัวเดียวหรือตัดตัวถังรถออกบางส่วน แล้วตีโรลบาร์ยึดแบบ SPEC FRAME ถือว่าผิดข้อหาดัดแปลงสภาพที่มีผลต่อความมั่นคงแข็งแรงของตัวรถ

mo 11

  • ใส่กระจกมองข้างซิ่ง ตามกฎหมายระบุไว้ว่า รถยนต์ต้องมีเครื่องส่องหลัง(กระจกมองหลัง)และเครื่องส่องหลังภายนอก(กระจกมองข้าง)อยางน้อย1อัน ซึ่งไม่ได้ระบุถึงขนาดและรูปแบบ ถ้าเปลี่ยนเป็นกระจกมองข้างแบบไฟเบอร์หรือแบบกระจกซิ่งทรงแข่ง ถ้ามี 2ด้านหรือด้านเดียวก็ถือวาถูกกฎหมาย แต่ถ้าไม่มีกระจกมองข้างหรือกระจกมองหลัง หรือเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพ ฟันธงว่า มีเครื่องส่องหลังจรองแต่ชำรุดหรือมองเห็นไม่ชัดเจน ก็ถือว่าผิดครับ

mo 9

  • เปลี่ยนเบาะซิ่งใส่เบล 4จุดแบบรถแข่ง เบาะหรือที่นั่งผู้ขับขี่ และผู้โดยสาร ทาง พรบ.จริงๆแล้วได้ระบุขนาดความกว้างยางของเบาะเอาไว้ด้วย ซึ่งจะเกี่ยวข้องในการระบุจำนวนผู้ดโดยสาร เบาะแต่งหรือเบาะไฟเบอร์ ส่วนมากมีความถูกต้องในเรื่องขนาด แต่ถ้าถอดเบาะออกไม่ว่าเบาะหลัง ถอดเหลือตัวเดียวหรือสั่งทำเบาะขนาดใหญ่พิเศษแบบนี้จะถือว่าผิดส่วนเซฟตี้เบลล์ทางกรมการขนส่งก็ได้กำหนดมาตรฐาน แต่ถ้ามีการยึดแน่นหนา ก็อนุโลมว่าผ่าน

mo 12

  • ปรับแต่งโมดิฟายเครื่องยนต์ การจะมาวัดกำลังอัพ หาขนาดความจุนั้นทำได้ยาก จึงอาศัยการตรวจดูหมายเลขเครื่องยนต์ว่าถูกต้องตามทะเบียนที่แจ้งไว้หรือไม่เท่านั้น ถ้าเลขเครื่องถูกถือว่าไม่ผิด จะขยายความจุเปลี่ยนลูก ยืดข้อ เสริมเสื้อสูบก็ไม่ผิด หรือไม่ว่าจะเปลี่ยนเทอร์โบใหญ่ ใส่กรองเปลือย เปลี่ยนหัวฉีด ติดกล่องเพิ่มแรงม้า ก็ไม่ผิดครับ เพียงแต่อุปกรณ์ภายในห้องเครื่องต้องดูแล้วแน่นหนาและมีความปลอดภัย แต่ถ้าจูนน้ำมันจนหนามาก เจ้าหน้าที่จะใช้ผลการตรวจวัดควันดำจากท่อไอเสียเป็นข้อกำหนดถึงสภาพเครื่องยนต์

 

เป็นยังไงกันบ้างครับกับเรื่องราวของการปรับแต่งรถให้ขับเข้าด่านได้อย่างสบายใจ ก็อย่างที่บอกไปตั้งแต่ข้างต้นแหละครับ เดินมาเจอกันคนละครึ่งทางเพื่อจะได้อยู่ร่วมกันได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็อย่าลืมพูดจากันด้วยความสุภาพทั้งผู้ใช้รถและผู้ถือกฎหมาย หนักนิดเบาหน่อยก็ค่อยๆคุยกัน ขอกันดีๆพี่จ่าคงไม่ใจร้ายสำหรับในบางเรื่อง