Drifting จุดกำเนิดของการควบคุมรถยนต์ที่เสียหลัก

Drifting จุดกำเนิดของการควบคุมรถยนต์ที่เสียหลัก

       สกรู๊ปของเราส่วนใหญ่แล้วจะมีเพียงเรื่องของความเร็วซะส่วนใหญ่แต่ในวันนี้ ทางทีมงานของ Realtime จะขอนำเสนอเรื่องราวในความผิดพลาดการควบคุมรถยนต์ซึ่งชาว Realtime ทุกท่านคงพอเดากันได้แล้วว่าเรื่องราวที่ทางเราจะนำเสนอมานั้นจะเป็นเรื่องอื่นใดไปไม่ได้นอกจากเรื่องราวของการ ดริฟ ( Drifting ) หรือความหมายง่ายๆก็คือการควบคุมรถในขณะที่รถเสียหลัก แต่วันนี้เราจะมาบอกเล่าเรื่องราวหรือประวัติความเป็นมาของการ ดริฟ ว่าเป็นมาอย่างไรเชิญชาว Realtime ไปรับชมได้เลย

 

       หากถ้าจะแปลตรงตัวตาม ตามการแปลภาษาบนอินเตอร์เน็ตแล้วนั้นจะแปลได้ว่า ล่องลอย ซึ่งความหมายนี้ค่อนข้างซับซ้อนนะครับว่าไหม แต่โดยส่วนตัวแล้วในความคิดของทีมงาน Realtime การดริฟนั้นก็เหมือนการคุมรถที่กำลังเกิดข้อผิดพลาดอยู่ระหว่างที่ขับขี่ โดยจะมีเทคนิคต่างๆที่เข้ามาช่วยในการใช้ โดยการดริฟนั้นเป็นการเข้าโค้งโดยการคุมความเร็วให้คงที่ โดยปกติแล้วการเข้าโค้งนั้นเราต้องเหยียบเบรกเพื่อลดความเร็วในการเข้าโค้งโดยไม่เกิดการเฉียวชนแต่อย่างใด แต่หากเป็นการดริฟแล้วนั้นเราจะไม่ค่อยลดความเร็วในการเข้าโค้ง แต่จะเป็นการเบรกแบบกระทันหันแล้วเข้าโค้งโดยที่รักษาความเร็วให้อยู่ในระดับคงที่ แล้วการดริฟนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไรเดี๋ยวเราจะมาดูในส่วนนี้ต่อกันเลยครับ การดริฟท์มีต้นกำเนิดมาจากกลุ่มนักแข่งตามถนนบนภูเขาแถบชนบทของประเทศญี่ปุ่น เป็นการแข่งบนถนนบนภูเขาหรือเรียกกันว่า โทเกะ เคอิชิ สึชิยะ (Keiichi Tsuchiya) ที่ได้ชื่อ ดริฟต์คิง เมื่อตอนแข่งรถอยู่ และอยู่ในอันดับรั้งท้ายโดยความโมโห ณ ขณะนั้นเขาจึงตัดสินใจที่จะเหวี่ยงรถผ่านโค้งและทำให้เหล่าฝูงชนรู้สึกตกตะลึงและรู้สึกประหลาดใจไปตาม ๆ กัน ภายหลัง Tsuchiya จึงเรียกมันว่าดริฟต์ ซึ่งในความเป็นจริงในยุคนั้นก็เริ่มมีคนใช้เทคนิคการดริฟรถให้เห็นกันบ้างแล้วจึงอาจจะไม่ใช่ต้นกำเนิดของมันซะทีเดียว แต่มันก็เป็นที่มาของชื่อและการแสดงให้คนอื่นเห็นเป็นครั้งแรก ในทศวรรษที่ 19 ในปี 77 เคอิชิ เริ่มต้นอาชีพการแข่งของเขาด้วยการขับรถหลายคัน ในการแข่งระดับมือสมัครเล่นรายการต่าง ๆ การแข่งขันโดยใช้รถที่ไม่ค่อยมีกำลังนั้นค่อนข้างยาก แต่ก็ทำให้ได้ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดี ต่อมาเคอิชิได้มีโอกาสขับรถแข่งโตโยต้า เออี86 สปรินเตอร์ ทรูเอโน่ ซึ่งมีสปอนเซอร์หลักคือ ADVAN ในหลาย ๆ การแข่งขันก็จะมีสนามที่เป็นโค้งลงเนิน

 

        มีหลายรายการได้แก่

 

d1 professional drift championship จัดในญี่ปู่น

fd formula drift จัดในอเมริกา และประเทศอื่นๆ

European Drift Championship

Australian Drifting Grand Prix

D1 new zealand

 

       สำหรับการ “ดริฟท์” (DRIFT) เดี๋ยวนี้ถ้าใครไม่เคยได้ยินก็เชยระเบิด แต่เชื่อว่าหลายคนยังไม่

รู้ลึก นอกจากรายละเอียดคร่าวๆ ไว้สำหรับคุยอวดกับเพื่อนฝูง สมัยนี้การดริฟท์ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ แบบที่  รถตามถนนสาธารณะทั่วไปทำกัน เพราะ มันกลายเป็นกีฬาที่ใช้แข่งในสนาม ต้องอาศัยทักษะ และการฝึกฝนอย่างมีระเบียบแบบแผน หลายคนสนใจอยากจะรู้และเล่น แต่ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร ใช้รถแบบไหนถึงเหมาะสม ฯลฯ เดี๋ยวทางทีมงาน Realtime จะมาบอกเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆใน  ข้อสำคัญเพื่อนักดริฟท์มือใหม่

ดริฟท์ คือ การควบคุมการไถล

-การดริฟท์ คือ วิธีการขับรถแบบโอเวอร์สเตียร์ (ท้ายปัด) หรือการทำให้เกิดการไถลของรถ ที่ล้อหลังจะ

ลื่นไถลมากกว่าล้อหน้า โดยท้ายรถจะกวาดออกตลอดโค้ง ผู้ขับจะใช้พวงมาลัย และคันเร่งควบคุม

ใช้ประโยชน์จากแรงเสียดทานของยางหน้าและหลัง ในการบังคับให้รถไปในทิศทางที่ต้องการ

 

-จาก “โทเกะ” ถึง “ดริฟท์ คิง”

การดริฟท์ คาดว่ากำเนิดมาจากการแข่งรถบนภูเขา ซึ่งภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า โทเกะ ของนัก “ซิ่ง” แถบ

ชนบทในญี่ปุ่น เหมือนในการ์ตูนเรื่อง “INITIAL D” หรือหนังเรื่อง “DRIFTING ซิ่งสายฟ้า” ที่ดริฟท์

กันบนเขาอากินะนั่นแหละ เล่ากันว่าการดริฟท์ เริ่มได้รับความนิยม ตั้งแต่ เคอิจิ สึชิยะ นักแข่งรถ

ทางเรียบชาวญี่ปุ่น ตัดสินใจสไลด์รถของตนเข้าโค้ง (ภายหลัง สึชิยะเรียกมันว่า “ดริฟท์”) หนี

ตำแหน่งรั้งท้ายได้สำเร็จ ในการแข่งขันครั้งใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ทำให้ผู้ชมตื่นตะลึงกับเทคนิค

นี้เป็นอย่างมาก เพราะทั้งสวยงาม และสามารถทำความเร็วในโค้งได้มากกว่าคู่แข่ง เขาอาจไม่

ได้ดริฟท์เป็นคนแรกอย่างที่หลายคนมักเข้าใจกัน แต่ผู้ชมก็ขนานนามว่าเขาคือ “DRIFT KING”

 

-“ดริฟท์” ไม่ใช่การแข่งความเร็ว

การแข่งดริฟท์ไม่ได้ตัดสินจากความเร็วเท่านั้น แต่ดูจากลูกเล่นในการขับ ด้วยปัจจัยหลายอย่าง เช่น

ปริมาณควันยาง รถเลี้ยวเฉียดผนัง ดูน่าตื่นตาตื่นใจ หรือเสียว แค่ไหน มุมการเข้าโค้ง คือ ยิ่งรถ

แถมากเท่าไรยิ่งดูดี และการเข้าไลน์ให้ถูกต้อง ซึ่งปกติจะถูกกำหนดให้รู้ก่อนแข่ง จะแข่งทีละคัน แต่

สนามบางแห่งจะแข่งกัน คราวละ 2 คัน เรียกกันว่า “สึอิโซะ” (แปลว่าการวิ่งไล่กัน) การดริฟท์ของ 2

คันติดกันจะเป็นภาพที่สวยมาก แต่ก็ไม่ได้แข่งกันว่าใครจะถึงก่อนเช่นกัน บางคันถูกทิ้งห่าง แต่ดริฟท์

สวยกว่าก็คว้าถ้วยไปได้เลย

 

-รายการแข่งระดับโลก

รายการแข่งที่ใหญ่ที่สุด คือ AUTOBACS D1 GRAND PRIX เริ่มต้นครั้งแรกที่สนาม อิบิสึ โดย

ปัจจุบัน ได้เพิ่มการดวลระหว่างญี่ปุ่น กับสหรัฐอเมริกา จัดที่แคลิฟอร์เนีย ในสนาม IRWINDALE

SPEEDWAY และสนาม SILVERSTONE CIRCUIT

 

-ขับเคลื่อนล้อหลัง เหมาะดริฟท์ที่สุด

รถขับเคลื่อนล้อหลังจะดริฟท์สะดวกที่สุด เนื่องจากล้อหลังที่หมุนจะทำให้เกิดแรงเสียดทานน้อยกว่า

เมื่อเข้าโค้งอย่างแรง ส่งผลให้เกิดการโอเวอร์เสตียร์ หรือท้ายปัดได้ง่าย รถขับเคลื่อนล้อหลังกลุ่มที่

นิยมที่สุดมี อาทิ ดอดจ์ ไวเพอร์/ฟอร์ด มัสแตง/ฮอนดา เอส 2000/มาซดา อาร์เอกซ์-7/นิสสัน เซฟีโร/

ซิลวีอา หรือ 240 เอสเอกซ์/สกายไลน์/350 เซด/โตโยตา อัลเตตซา/อริสโต/โคโรลลา เป็นต้น

 

-ใครว่าขับเคลื่อนล้อหน้าดริฟท์ไม่ได้

อันที่จริงสามารถดริฟท์ได้ แต่ไม่ใช่ตัวเลือกที่ดี เนื่องจากทั้งการเลี้ยว และการขับเคลื่อนไปรวมกัน

อยู่ที่ล้อหน้า การเข้าโค้งส่วนใหญ่จึงเกิดอาการอันเดอร์สเตียร์ (หน้าแถออกจากโค้ง) ตามประสา

รถขับเคลื่อนล้อหน้า จึงต้องใช้เบรคมือตลอด ทั้งไม่เหมาะและไม่สะดวก ทำให้วิ่งช้า และควบคุม

ยาก อย่างไรก็ตาม นักดริฟท์บางคนก็เคยใช้รถขับเคลื่อนล้อหน้า เช่น ฮอนดา ซีวิค อีเอฟ ในการ

แข่ง แถมยังชนะรถขับเคลื่อนล้อหลังเสียด้วย

 

-การแข่งบางรายการ ไม่ให้รถขับเคลื่อน 4 ล้อลงแข่ง

ถ้าจะแข่งกันที่ความเร็ว รถอย่าง มิตซูบิชิ แลนเซอร์ เอโวลูชัน หรือ ซูบารุ อิมพเรซา ดับเบิลยูอาร์เอกซ์

คงชนะขาด เพราะสามารถดริฟท์ได้ด้วยมุมที่แคบกว่า ทั้งยังเข้าโค้งได้เร็วกว่า จากการไถลที่น้อย การ

หมุนของล้อทั้ง 4 และลิมิเทดสลิพ จึงเหมาะกับการแข่งแบบ ดแรก และ จิมคานา แต่สำหรับการ

ดริฟท์ อย่างไรก็ทำท่าสวยสู้รถขับเคลื่อนล้อหลังไม่ได้เลย ซึ่งสิ่งนี้เป็นหัวใจของการดริฟท์ การแข่ง

“AUTOBACS D1 GRAND PRIX” จึงไม่อนุญาตให้รถขับเคลื่อน 4 ล้อ ลงแข่งเด็ดขาด

 

-งบน้อย ก็ดริฟท์ได้

เห็นรถยอดนิยมในข้อ 5 ใครกระเป๋าแบน อาจเลิกคิดเล่นดริฟท์ไปเลย แต่ถ้ามือใหม่หัดดริฟท์อยาก

ลองดูสักตั้ง รถขับเคลื่อนล้อหลัง โครงสร้างเหมาะสมรุ่นเก่าก็มีให้เลือกไม่น้อย เช่น รถยุโรปอย่าง

เมร์เซเดส-เบนซ์ ดับเบิลยู 123 หรือ บีเอมดับเบิลยู อี 30 ราคาตามสภาพ ไล่ตั้งแต่ 4 หมื่นถึงแสน

กว่าๆ หรือจะเป็น รถญี่ปุ่น เช่น โตโยตา เออี 86 และ เคอี ที่ถูกกว่า แต่อาจต้องปวดหัวเรื่องอะไหล่

บ้าง

 

-เทคนิคการดริฟท์ที่นักแข่งมักใช้

– BRAKING DRIFT เหยียบเบรคต่อเนื่องก่อนเข้าโค้ง เพื่อถ่ายน้ำหนักจนสไลด์ จากการที่ให้ล้อนอก

โค้งสูญเสียการยึดเกาะ จากนั้นควบคุมการดริฟท์ด้วยคันเร่ง และพวงมาลัย

 

– CLUTCH KICK เหยียบ และปล่อยคลัทช์ เพื่อตัดกำลังที่ส่งไปที่ล้อจนสูญเสียการยึดเกาะ เทคนิค

นี้เหมาะกับการแต่งโค้งอย่างเร็ว ในโค้งเดียวอาจเบิลคลัทช์ได้หลายครั้งตามความเหมาะสม

 

– E (EMERGENCYBRAKE) DRIFT ดึงเบรคมือเพื่อให้ล้อหลังหยุดหมุนจนท้ายปัดออกนอกโค้ง

เหมาะกับรถขับเคลื่อนล้อหน้า หรือรถกำลังน้อยที่ไม่สามารถทำให้รถสูญเสียการยึดเกาะด้วยวิธีอื่น

 

– INERTIA DRIFT โยกพวงมาลัยไปในทิศทางตรงข้ามกับโค้ง และหักกลับมาอย่างรวดเร็ว โดยอาศัย

แรงเฉื่อยเป็นแรงกระทำ แต่จะยากเรื่องการควบคุม เนื่องจากรถมีโอกาสหมุนได้สูง หากหักพวงมาลัย

ผิดจังหวะจนเกิดแรงเฉื่อยมากเกินไป

 

– POWER OVER DRIFT เหยียบคันเร่งเต็มที่ก่อนเข้าโค้งจนเกิดการไถล เนื่องจากแรงเฉื่อยที่มากเกิน

กำลังรับของการยึดเกาะ หลังจากนั้นจะเร่งส่งอีกครั้งเพื่อออกจากโค้ง แต่หากเข้าไลน์ผิด ล้ออาจฟรี

ทิ้งไปเปล่าๆ ทำให้เข้าโค้งช้าไปโดยใช่เหตุ

เป็นไงกันบ้างครับชาว Realtime หลังจากที่พักแรงความเร็วและแรงมาทำความรู้จักกับองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับการขับรถอย่างการควบคุมรถในระหว่างที่เสียหลัก (ดริฟ) แต่ถ้าใครอยากลงสนามดริฟจำเป็นต้องไปหาสนามโล่งๆเพื่อทำการฝึกซ้อมโดยได้รับการควบคุมจากผู้เชี่ยวชาญ พร้อมอุปกรณ์ safty ภายในรถให้พร้อม

อนึ่ง เตรียมเงินค่ายางไว้เยอะๆ อิอิ

สำหรับวันนี้ก็ขอขอบคุณชาว Realtime ทุกท่านที่ติดตามมาจนถึงตอนนี้ สกรู๊ปต่อไปจะเป็นเรื่องราวอะไรโปรดติดตาม


ทาง Realtime car magazine ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามารับชมกันนะครับ และยังสามารถไปติดตามเราต่อได้ที่นี่เลย

Website : http://www.realtimecarmagazine.com/newsite/
Facebook : https://www.facebook.com/realtimecarmagazinecom/
Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCeamIIu312yD-jYJUzOd7kQ
Twitch TV : https://www.twitch.tv/realtimecarmagazine
Blockdit : https://www.blockdit.com/pages/5ed70c2d713f890cbc006f05
instagram : https://www.instagram.com/realtimecar_magazine/
Tiktok : https://vt.tiktok.com/ZSmSrdsB/