เข็มขัดนิรภัย รู้ไว้ก่อน บอกต่อไป

เข็มขัดนิรภัย รู้ไว้ก่อน บอกต่อไป

สวัสดีชาว Realtime ทุกท่านนะครับ วันนี้เรามีเกร็ดความรู้ดี ๆมาฝาก เกี่ยวกับเข็มขัดนิรภัย ทั้งวิธีใช้ วิธีดูแล รักษาความสะอาด และ ปัญหาที่เราพบบ่อยในการใช้งานมันบ่อย ๆ อยากรู้แล้วละก็ไปรับชมกันได้เลยครับ กับเรื่อง เข็มขัดนิรภัย

เรามาเริ่มด้วย การทำความรู้จัก เข็มขัดนิภัยกันก่อน เข็มขัดนิรภัยนั้น คือ ชุดอุปกรณ์ที่ใช้ลดความรุนแรง จากอันตราย อุบัติเหตุ ต่าง ๆ ที่มีผลต่อผู้ขับขี่ และ ผู้โดยสาร ซึ่งเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน ที่มีติดมากับรถยนต์ทุกคัน จากโรงงานอยู่แล้ว ดังนั้นจึงสมควรเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องหมั่นตรวจเช็คการใช้งาน และ ตรวจสภาพให้สมบูรณ์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยป้องกันการทำงานที่ผิดพลาด แล้วอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ และ เข็มขัดนิรภัยนั้นแบ่งได้อยู่ 2 แบบนั้นก็คือ

1.แบ่งตามชนิดการใช้งาน

– แบบที่มีชุดดึงกลับ

– แบบที่ไม่มีชุดดึงกลับ

2.แบ่งตามประเภทจุดยึด

– แบบ 2 จุด คาดผ่านบริเวณโคนขารอบสะโพก

– แบบ 3 จุด คาดผ่านบริเวณสะโพกและไหล่

วิธีการทำงานของเข็มขัดนิรภัย

เมื่อเราเดินทางในรถยนต์  ตัวเราและรถกำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่ากัน  ถ้ารถหยุดกะทันหันตัวของเราจะยังคงเคลื่อนไปข้างหน้าต่อไป  ทั้งนี้ก็เพราะแรงเฉื่อย  (inertia)  ซึ่งมีหลักอยู่วาวัตถุซึ่งกำลังเคลื่อนที่ไปนั้นย่อมมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนที่ต่อไป  และวัตถุซึ่งอยู่นิ่งๆ กับที่ย่อมมีแนวโน้มที่จะคงอยู่กับที่เช่นนั้นต่อไป

เข็มขัดนิรภัยที่ม้วนเข้าด้วยแรงเฉื่อยนั้นก็ทำงานด้วยหลักเดียวกันนี้  กลไกของเข็มขัดนิรภัยประกอบด้วยลูกตุ้มซึ้งห้อยในแนวดิ่งขณะที่รถแล่นในสภาพปกติ  แต่ถ้ารถหยุดกะทันหันลูกตุ้มจะแกว่งไปข้างหน้า  และคานล็อกซึ่งวางอยู่บนลูกตุ้มจะหลุดออก  คานจุเข้าไปติดกับก้ามปูซึ่งล็อกตัวเก็บเข็มขัด  เข็มขัดนิรภัยที่ล็อกจึงป้องกันไม่ให้ตัวเราโดนเหวี่ยงไปข้างหน้า

เมื่อเราดึงสายเข็มขัดนิรภัยออกมาคาด  แรงดึงเบาๆ  จะทำให้สายรูดออกมาจากที่เก็บด้วยแรงสปริง  แต่กลไกนี้จะทำให้สายตึงเมื่อรถแล่นตามปกติ  โดยจะผ่อนสายพอให้เราโน้มตัวไปข้างหน้าได้ตามความจำเป็น  แต่ถ้ารากระตุกสายเข็มขัดโดยกะทันหันขณะที่ดึงสายออกมา  กลไกของชุดล็อกจะทำงานและหยุดยั้งการทำงานของสปริงการหย่อนสายเข็มขัดปลดสปริงและคานล็อกให้คลายออก

ต่อมาก็คือ วิธีการใช้ มีดังนี้

1.คาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งที่ขับรถ และโดยสาร

2.ควรปรับเบาะนั่ง เพื่อให้สามารถนั่งขับรถ หรือ นั่งโดยสารได้อย่างสะดวก ต้องนั่งตัวตรง โดยแผ่นหลังแนบสนิทกับเบาะพนักพิง

3.ไม่ปรับเบาะพนักพิง เพื่อไม่ให้ตัว ชิดกับพวงมาลัยมากเกินไป หรือเอนนอนมากเกินไป เพราะเมื่อเกิดการปะทะ หรือ ชน  อาจทำให้ผู้โดยสารเกิดการกระแทกกับด้านหน้า หรือเลื่อนหลุดจากเบาะนั่งได้

4.สอดแผ่นล็อกเข็มขัด เข้ากับหัวเข็มขัดจนกระทั่งได้ยินเสียงดังคลิก

5.ปรับเข็มขัดนิรภัยส่วนไหล่ให้อยู่บริเวณที่หัวไหล่พอดี สำหรับเข็มขัดแบบ 3 จุด ( อย่าให้สายพาดบริเวณลำคอและ ใบหน้า เพราะอาจเกิดอันตรายได้หากเกิดการชน หรือ ปะทะ ขึ้น )

6.สายเข็มขัดนิรภัยด้านล่างควรคาดบริเวณสะโพกให้ต่ำที่สุด (อย่าให้สายคาดบริเวณเอว และ บริเวณหน้าท้อง เพราะอาจเกิดอันตรายได้หากเกิด การชน การปะทะ สายจะเกิดการกดทับบริเวณหน้าท้อง)

แล้วเรามาดูถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้กัน

     ปัญหาจากการใช้ของเข็มขัดนิรภัยมี 3 จุด  การทำงานที่ผิดพลาดของเข็มขัดนิรภัยอาจจะเกิดขึ้นได้ทุกขณะ การใช้งานและ หลายสาเหตุ  ยกตัวอย่าง เช่น

-ปัญหาการไม่คืนกลับของของเข็มขัดนิรภัย เมื่อมีการดึงรั้งสาย ออกมาใช้งาน

-การติดหรือขัดตัวของสาย ทำให้ไม่สามรถดึงสายเข็มขัดนิรภัยออกมาใช้งานได้อย่างปกติ

-การไม่ล็อกตัวของเข็มขัดนิรภัยเมื่อเกิดการชนกัน หรือไม่ล็อกตัวผู้โดยสารขณะเกิดอุบัติเหตุ

-การสูญเสียความแข็งแรง  หรือสายเข็มขัดนิรภัย ฉีกขาด

และนี่คือ วิธีการดูแลทำความสะอาดเข็มขัดนิรภัย

ตรวจสอบความเรียบร้อย การฉีกขาด การเสียดสีของสายกับอุปกรณ์ต่าง ๆ และการทำความสะอาด

การทำความสะอาด

            1.ใช้ผ้าฝ้าย หรือ ผ้าก็อซชุปน้ำอุ่น หรือ สารชะล้างที่มีฤทธิ์เป็นกลางผสมกับน้ำ 20 ส่วน เช็ดสายเข็มขัดนิรภัย โดยดึงสายออกจนสุด  แล้วเช็ดทำความสะอาด ตรวจดูความเรียบร้อย ความต่างของสีที่เข็มขัดนิรภัย การฉีกขาด การเป็นขุยเปื่อยทั้งในและนอกของสาย

2.ใช้ผ้าแห้งเช็ดให้แห้ง จากนั้นผึ่งลมให้แห้ง ห้ามตากไว้กลางแดด หรือ ใช้ลมร้อนเป่าได้

3.ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเข็มขัดนิรภัย สามารถดึงออก และ คืนตัวกลับได้อย่างนุ่มนวล เมื่อออกแรงดึง ( การดึงกระชากตัว ) สายจะต้องล็อค

อย่าลืมเด็ดขาดนะครับ ต้องคาดเข็มขัดนิรภัยตลอด ทุกครั้งที่ขับรถ หรือ นั่งรถ ต้องคาดทั้ง ผู้ขับ และ ผู้โดยสารเลยนะครับ สำหรับวันนี้ผมขอตัวลาไปก่อนนะครับ ถ้าใครชอบ ข้อมูล อย่าลืมเข้ามารับชมเว็บไซต์ ของเราอย่างสม่ำเสมอนะครับ สำหรับวันนี้ สวัสดีครับ

เกร็ดความรู้นี้ เห็นเป็นเรื่องเล็กเเต่สำคัญมากนะ เเละยังสามารถติดตามพวกเราต่อได้ที่ : Realtime car magazine