Realtime กับบรรยากาศงานแถลงข่าว toyota เปิดตัวยุคใหม่ของ Ha:mo

เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2560 ที่ผ่านมา “CU TOYOTA Ha:mo” งานแถลงรายละเอียดโครงการแบ่งปันรถกันใช้ด้วยยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กก็ในกรุงเทพมหานคร และบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง  บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด โดย มร.มิจิโนบุ ซึงาตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้อออาภรณ์ อธิการบดี

IMG_1287

     คุณนินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานคณะกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศ ไทย จำกัด และ มร.เคอิจิ ยามาโมโตะ เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท คอนเน็คเต็ด พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.บุญ ไชย สถิตมันในธรรม รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศเปิดตัวความร่วมมือ โครงการ “CU TOYOTA Ha:mo” เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2560

IMG_1398

เชือมต่อยานพาหนะเข้ากับระบบเครือข่ายด้วยเทคโนโลยี IoT

ทุกวันนี้โลกของเราเผชิญกับ สถานการณ์รอบด้านที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งจากการก้าวเข้าสู่
สังคมผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องของประเทศที่พัฒนาแล้ว ในขณะที่ประเทศตลาดเกิดใหม่ต่างก็มีจํานวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและเริ้มเข้าสู่ภาวะสังคมเมือง อีกทั้งเรายังมีแหล่งกําเนิดพลังงานที่หลากหลายมากขึ้น  ด้วยเหตุนี้ การเชื่อมต่อยานพาหนะ เข้ากับเครือข่ายด้วยเทคโนโลยี IoT(Internet of Things) จึงกลายเป็นบริการในรูปแบบใหม่ สําหรับลูกค้าและผู้คนในสังคม ตลอดจนเป็นรากฐานสําคัญให้ผู้ผลิตรถยนต์รายต่างๆ พัฒนาธุรกิจเพื่อให้รองรับ กับการเปลี่ยนแปลงต่อไป

ในปี 2559 โตโยต้าได้ก่อตั้งบริษัท คอนเน็คเต็ด เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการตัดสินใจเรื่องกลยุทธ์และการ ดําเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อมต่อยานพาหนะกับระบบเครือข่าย ให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว

IMG_1394

“Ha:mo” เครือข่ายการเดนิทางที่สอดประสานกัน

ด้วยระบบการคมนาคมสําหรับยุค หน้าอย่าง Ha:mo โตโยต้ามุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาในการเดนิทางด้วยการเชื่อมต่อรถยนต์ส่วนบุคคลเข้ากับระบบขนส่งสาธารณะเพื่อให้การเดนิทางสัญจรเป็นไปอย่างราบรื่นและไร้รอยต่อ โตโยต้าเชื่อว่าทางหนึ่งทีจะช่วยแก้ไขปัญหาได้คือ การนํายานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก (Ultra-compact Electrical Vehicle) มาให้บริการ ทําให้ผู้คนสามารถใช้ร่วมกันเพื่อเดินทางไปยังที่ต่างๆ ได้อย่างอิสระโดยสร้างผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด ด้วยเหตุนี้ระบบการเดินทางแบบ Ha:mo จึงถือกําเนิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น (ในโตโยต้าซิตี้โตเกียว โอกายาม่า และโอกินาว่า) ประเทศฝรั่งเศส (ในเมืองเกรโนเบิล) และล่าสุด ณ วันนี้ คือที่กรุงเทพฯ ซงึ่ถือ เป็นประเทศตลาดเกิดใหม่ที่แรกที่โตโยต้าได้นําเอานัวตกรรมนี้มาใช้

IMG_1445

     มร.เคอิจิ ยามาโมโตะ กล่าวว่า “Ha:mo คือการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กร่วมกัน ซึ่งเหมาะกับการ
เดินทางระยะสันในสังคมเมือง โดยเมื่อขับรถไปถึงที่หมายแล้ว ผู้ใช้รถ Ha:mo สามารถจอดรถทิ้งเอาไว้ได้เลยHa:mo ช่วยให้ผู้คนเดินทางจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดหมายปลายทางได้ง่ายขึ้น การเปิดตัว Ha:mo ในกรุงเทพฯ ถือเป็นการริเริ่มสร้างต้นแบบของแนวทางการเดินทางต่อเนื่องหลายรูปแบบ ที่ช่วยแก้ปัญหาการจราจรในประเทศ ตลาดเกิดใหม่ ผมหวัง เป็นอย่างยิ่งว่าคนไทยจะให้การยอมรับ Ha:mo โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่ม คนรุ่นใหม่ใน อนาคต”

IMG_1418 IMG_1382

     โครงการนี้มีชื้อว่า “CU TOYOTA Ha:mo” ซึ่ง ถือกําเนิดขึ้น เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในโอกาสครบรอบ 55 ปีของการก่อตังบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จํากัด โดยจะมีการทดลองระบบการแบ่งปันรถกันใช้ ด้วยยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก (EV sharing) เพื่อวิ่งในระยะสันๆ ภายในพื้น ที่โดยรอบของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นการเชื่อมต่อการเดินทางกับระบบขนส่งสาธารณะจาก ต้นทางไปยังจุดหมายปลายทางของผู้ใช้งาน

     คุณนินนาท ไชยธีรภิญโญ กล่าวว่า “ทางโครงการไดว้างแผนเพื่อทําการศึกษาและทดลองระบบการ แบ่งปันรถกัน ใช้ ออกเป็น ; ระยะ โดยระยะแรกจะเรียกว่าช่วงพัฒนา (ตังแต่เดือนธันวาคม 2560 ถึงเดือน พฤศจิกายน 2562) หลังจากเสร็จสิ้นการดําเนินงานในระยะแรก ทางโครงการก็จะทําการทบทวนและสรุปผล เพื่อ เข้าสู่ระยะที่สองในรูปแบบทางธุรกิจเต็มตัว โดยจะเชิญชวนให้ผู้ที่มีความสนใจเข้าร่วมลงทุน เพื่อขยายการ ให้บริการออกไปในพื้นที่ใกล้เคียงและพื้นที่อื่นๆ

IMG_1434 IMG_1371 IMG_1432 IMG_1385

     โครงการจะเปิดให้บริการตั้งแต่เดือนธันวาคมนี้เป็นต้นไป โดยในช่วงระยะเริ่มต้นจะมีรถที่ให้บริการทั้ง)หมด10 คัน และมีแผนจะเพิ่มจํานวนรถอีก 20 คัน ในกลางปีหน้า รวมจํานวนรถทั้งสิ้น 30 คันที่จะให้บริการในช่วง ระยะเวลา 2 ปี โดยพื้นที่การให้บริการจะครอบคลุมในบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทั้งสองฝั่ง โดยทางโครงการ จะเตรียมสถานีจอดรถไว้ทั้ง หมด 12 สถานี กระจายครอบคลุมเพื่อรองรับความต้องการใช้งาน พร้อมทั้งติดตั้ง สถานีอัดประจุไฟฟ้า 10 สถานี และมีจํานวนช่องจอดรถให้บริการทั้งหมด 33 ช่องจอด ทําให้สามารถอํานวยความ สะดวกให้ผูใช้บริการในการเดินทางเชื่อมต่อกับระบบขนส่งสาธารณะ เช่น รถไฟฟ้าทั้ง BTS, MRT และรถโดยสาร ประจําทาง  กลุ่มเป้าหมายในการให้บริการคือนิสิต อาจารย์ บุคลากรและประชาชนทั่วไป โดยผู้ใช้บริการจะต้อง สมัครเป็นสมาชิกของโครงการผ่านระบบออนไลน์หรือมาสมัครด้วยตนเองที่สํานักงานโครงการที่ตั่งอยู่ใน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ค่าบริการเริ้มต้นที 30 บาทต่อครั่ง สามารถใช้รถได้ 20 นาที”

IMG_1405 IMG_1396 IMG_1395 IMG_1429

     นอกจากนี้ โครงการยังวางแผนที่จะให้ “CU TOYOTA Ha:mo” เป็นเวทีเปิด เพื่อร่วมพัฒนาสู่นวัตกรรมการ เดินทางของสังคมในอนาคต โดยมุ่ง เน้นให้เกิดการมีส่วนร่วมจากบุคคลและภาคประชาสังคมในเรื่องระบบการ แบ่งปันรถกันใช้ด้วยยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กก็ อันเกิดจากการพัฒนาเทคโนโลยีควบคู่กับการพัฒนาสังคม  การเปิด โอกาสให้ทั่งบริษัทที่สนใจ นิสิตนักศึกษา นักวิจัย อาจารย์ และองค์กรต่างๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการ ช่วยให้ สามารถรวบรวมแนวคิดต่างๆ คัด เลือกแนวทาง พัฒนาแผนโครงการ ตลอดจนทดลองใช้ในพื้น ที่จริง ซึ่ง จะเป็น แนวทางต่ออนาคตของระบบการแบ่งปันรถกันใช้ในประเทศไทย

IMG_1436 IMG_1433

     รองศาสตราจารย์ ดร.บุญไชย สถิตมั่นในธรรม กล่าวว่า “จากวิสัยทัศน์ของเรา เรามุ่งมั่น ที่จะเป็น
มหาวิทยาลัยชั้น นําระดับ โลก โดยสร้างความรู้และนวัตกรรมที่จําเป็นสําหรับการพัฒนาสังคมไทยอย่างสร้างสรรค์ และยั่งยืน เราก่อตังโครงการ ’ศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย’ (CU Innovation Hub) เมื่อปีที่แล้วเพื่อเป็นเวทีสําหรับพัฒนาทั้งนวัตกรและนวัตกรรม  อันเป็นการปูทางเพื่อก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยของ ประเทศที่มีศักยภาพเชิงนวัตกรรมในระดับโลก เพื่อเปลี่ยนผ่านวิถีชีวิต การเรียนรู้ และการทํากิจกรรมต่างๆ ของ คนไทย นอกจากนี้ เรายังพัฒนาโครงการใหญ่ภายในบริเวณมหาวิทยาลัย ด้วยชื่อโครงการ ‘เมืองจุฬาฯ อัจฉริยะ’ (CU Smart City) เพื่อ เป็นต้น แบบอนาคตของกรุงเทพฯ ในหลากหลายมิติ เช่น เรื่องพลัง งาน การเดินทาง สิ่งแวดล้อม เป็นต้น ดังนั้น เราจึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งทีได้ร่วมมือกับโตโยต้าในโครงการนี้ และพร้อมสนับสนุน โครงการเพื่อร่วมพัฒนาสังคมการเดินทางในอนาคต ภายใต้แนวคิด ‘เวทีเปิดทางนวัตกรรม’ ”

IMG_1454

     คุณนินนาท ไชยธีรภิญโญ กล่าวทิ้ง’ ท้าย “ผมหวัง เป็นอย่างยิ่งว่า โครงการนี้จะได้รับความร่วมมือและ สนับ สนุน จากทุก ฝ่ายทีเกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันพัฒนาทางเลือกใหม่สําหรับการเดินทางในสังคมเมือง หัวใจสําคัญ ก็ คือ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่ แข็งแกร่ง เพื่อร่วมกันเปลี่ยนแปลงวิถีการเดินทาง อันจะเป็นประโยชน์ต่อ ส่วนรวมและประเทศชาติที่จะพัฒนาต่อไปอย่างยั่งยืน”