สอบใบขับขี่ต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง

สอบใบขับขี่ต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง

          สวัสดีครับทุกท่าน สำหรับในช่วงนี้มีการใช้รถยนต์บนท้องถนนเริ่มมีมากขึ้น แน่นอนว่า มีทั้งผู้ที่เรียนเองจากบุคคลที่ขับขี่ได้อยู่แล้ว หรือไปเรียนตามโรงเรียนสอนขับรถสถานที่ต่างๆ แต่แน่นอน ไม่ว่าจะเรียนจากใครมา ทุกคนย่อมต้องทำให้ถูกกฎหมายเช่นกัน นั่นคือการทำใบขับขี่ และในวันนี้ทีมงานRealtime จะขอเสนอเรื่องการเตรียมตัวสำหรับการสอบเพื่อรับใบขับขี่ จะต้องเตรียมและปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลยครับ

การจองคิวเพื่อสอบ

1.จองด้วยตนเองที่กรมการขนส่งทางบก

2.จองผ่านการโทรศัพท์ 02-2718888 หรือ 1584

3.จองผ่านระบบออลไลน์ ebooking.dlt.go.th/ebooking หรือสำหรับในส่วนภูมิภาค จะมีสำนักงานขนส่งประจำจังหวัด ทุกจังหวัด สามารถดูและเช็กเบอร์โทร. ติดต่อได้ที่ dlt.go.th

หลักฐานที่ต้องเตรียม   

1.บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง

2.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน  1  ใบ

3.ใบรับรองแพทย์ อายุใบรับรองไม่เกิน 1 เดือน

4.ใบรับรองการอบรม(กรณีทำการอบรมเอกชนที่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบก)

การสอบข้อเขียน

ต้องสอบผ่านเกณฑ์ที่กำหนด 90 % หากไม่ผ่านต้องมาทำการสอบใหม่ในเวลาที่กำหนดไม่เกิน 90 วัน

 

เข้าการอบรมการใช้รถใช้ถนนและจิตสำนึกการใช้รถใช้ถนน

หากมีใบรับรองการสอบจากที่อื่นมาแล้วสามารถเข้าสู่สอบภาคปฏิบัติได้เลย แต่หากในแบบปกติต้องเข้าอบรมรวมเวลาทั้งหมด 5 ชั่วโมง

การสอบภาคปฏิบัติ

กรมการขนส่งทางบกกำหนดไว้ทั้งหมด 3 การทดสอบ

 

1.การทดสอบเดินหน้าถอยหลัง การขับรถเดินหน้าถอยหลังโดยไม่ให้ชน

 

2.ขับรถเดินหน้าและหยุดรถทางเทียบเท้า ด้านซ้ายของรถห่างจากขอบทางไม่เกินและจอดให้ล้อหน้าและล้อหลังทับเส้นที่กำหนด กันชนหน้ารถห่างจากเส้นหยุดไม่เกิน 1 เมตร

 

3.ขับรถเข้าซองจุดจอดที่กำหนด ขับรถถอยหลังเข้าจอดและออกจากช่องว่างด้านซ้าย ต้องไม่ชนหรือเบียดเสาในพื้นที่ และเปลี่ยนเกียร์ได้ไม่เกิน 7 ครั้ง

ชำระค่าธรรมเนียมและถ่ายรูปติดบัตร

ค่าคำขอ 5 บาท ค่าใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว 200 บาท ค่าซองของใบขับขี่(ขอไม่รับก็ได้) 100 รวมทั้งหมด 305 บาท

 

กรณีบัตรหายควรทำอย่างไร

1.เตรียมตัวจริงของ บัตรประชาชน และทะเบียนบ้าน พร้อมด้วยสำเนาอย่างละ 1 ชุด

2.เดินทางไปติดต่อที่กรมการขนส่งทางบกใกล้บ้าน

3.ติดต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์พร้อมแจ้งความประสงค์ต้องการทำบัตรใหม่กรณีบัตรหาย แล้วเจ้าหน้าที่จะให้เขียนใบคำร้อง พร้อมแนบสำเนา รับบัตรคิว

4.เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูล เมื่อข้อมูลตรงและถูกต้องเตรียมการทำบัตรใหม่

5.เสียค่าธรรมเนียมบัตร 250 และอีก 5 บาท ค่าใบคำร้อง

 

          รู้อย่างนี้แล้ว ก็เตรียมตัวเตรียมเอกสารกันไปให้พร้อมนะครับ ถ้าไปแล้วลืมเอกสารจะทำให้เสียเวลากันไปอีก ต่อไปจะพบกับคอลัมน์อะไรรอติดตามกันได้เลยครับ