ข้อกฎหมายเบื้องต้นที่คนใช้รถใช้ถนนต้องควรรู้

ข้อกฎหมายเบื้องต้นที่คนใช้รถใช้ถนนต้องควรรู้

บนท้องถนนทุกวันนี้มีผู้ใช้รถเพิ่มขึ้นทุกวัน ทั้งมือใหม่และมือเก่า โดยเฉพาะมือใหม่มีเยอะแยะมากมายก็ด้วยเงื่อนไขในการเป็นเจ้าของรถสักหนึ่งคันในทุกวันนี้มันง่ายดายซ้ะเหลือเกิน คงไม่แปลกที่จะมีหน้าใหม่เกิดขึ้นบนท้องถนน เพราะการจะหารถมาขับเป็นยานพาหนะสักคันมันไม่ยาก คนส่วนมากจึงไม่ค่อยที่จะศึกษาข้อกฎหมายหรือมารยาทในการใช้รถใช้ถนนร่วมกันก่อนที่จะเริ่มต้นขับรถ การกระทบกระทั่งหรือการเกิดอุบัติเหตุจึงเกิดขึ้นบ่อยครั้งในทุกวันนี้ หรือบางคนอาจกระทำความผิดโดยไม่รู้ตัว ซึ่งเป็นการกระทำที่เคยชินจนลืมคิดไปว่าสิ่งที่ทำอยู่หรือสิ่งที่ปฎิบัติอยู่บนท้องถนนนั้นเป็นความผิด เราไปดูกันครับว่าสิ่งที่ควรรู้เบื้องต้นในการใช้รถใช้ถนนร่วมกันนั้นจะมีข้อปฎิบัติหรือข้อกฎหมายอะไรบ้างที่คนอยู่หลังพวงมาลัยต้องควรจะรู้

        รัดเข็มขัดนิรภัย (ทั้งคนขับและคนโดยสาร) ประเทศไทยมีสถิติการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนสูงเป็นอันดับสองของโลก ภาครัฐจึงมีมาตรการบังคับให้ใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ตามมาตรา 44 ฉบับที่ 14/2560 สั่งให้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7คน รถแท็กซี่ รถตู้และรถกระบะ ยกเว้น รถ 2 แถว รถกระบะมีแค็บ และรถ 3 ล้อเครื่อง จะต้องมีเข็มขัดนิรภัยและต้องคาดเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง บทลงโทษคือ คนขับและผู้โดยสารรถเก๋ง รถแท็กซี่ และรถกระบะ ปรับไม่เกิน 500บาท ส่วนรถตู้ รถทัวร์ รถบรรทุกสินค้าปรับไม่เกิน 5,000บาท

        ท่อไอเสียเสียงต้องไม่ดังเกิดกำหนด นี่ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เหล่าบรรดาขาซิ่งชอบดัดแปลงกัน การเปลี่ยนแปลงท่อไอเสียรถซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตัวรถให้ผิดเพี้ยนไปจากทะเบียนที่จดไว้แล้วทำให้มีเสียงดังกว่า 95 เดซิเบล ในรัศมี 3 เมตรจากท่อไอเสีย เว้นแต่ว่าใส่เครื่องระบังเสียงเพื่อให้ไม่เกิดเสียงดังอยู่ เนื่องจากสร้างความรำคาญให้แก่ผู้อื่น หรืออาจทำให้ผู้ที่อยู่รอบข้างมีปัญหาทางการได้ยินได้ หากผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องโทษถูกปรับไม่เกิน 1,000บาท

       เมาระดับไหนถึงจะโดนปรับ ปัญหาระดับชาติที่เกิดขึ้นทุกวันเรื่องของการวัดประมาณแอลกอฮอล์ หากผู้ขับขี่รถยนต์ชนิดต่างๆมีแอลกอฮอล์ในเลือกเกิน 50มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะถือว่าเมาสุรา ตามมาตรา 43(2) ผู้ขับขี่ที่ถูกตรวจพบว่าเมาสุรา จะต้องโดนจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000-20,000บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และศาลจะพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นไม่น้อยกว่า 6เดือน หรืออาจถูกเพิกถนน ใบอนุญาตขับขี่ได้

       กระบะหลังนั่งไม่ได้นะครับ เนื่องจากรถกระบะที่มีแค็บเป็นรถที่จดทะเบียนเป็นรถกระบะบรรทุกส่วนบุคคลไม่เกิน 7ที่นั่ง อีกทั้งบริเวณกระบะหลังไม่มีอุปกรณ์สำหรับความปลอดภัย และเป็นที่สำหรับไว้บรรทุกของเท่านั้น จึงถือว่าเป็นการใช้รถผิดประเภท ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 21 มีโทษปรับไม่เกิน 2,000บาท

      ไฟตัดหมอกห้ามเปิดถ้าไม่มีเหตุจำเป็น ของบางอย่างที่ติดมากับตัวรถใช่ว่าจะไช้ได้ตลอดเวลาหรือนึกอยากจะใช้เมื่อไหร่ก็ได้อย่างเช่นไฟตัดหมอกนี่แหละ ไฟตัดหมอกจะใช้ได้แค่ 4กรณีเท่านั้น คือ ช่วงฝนตกหนัก เมื่อเจอหมอกลงหนัก หลังฝนหยุดในเวลากลางคืน ขับผ่านกลุ่มควัน เพราะหากใช้ผิดที่ผิดเวลาอาจสร้างความรำคาญแก่ผู้ร่วมทางจนเป็นเหตุให้เกิดความไม่ปลอดภัยได้ หากผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษสูงสุด ปรับไม่เกิน 500บาท

     ไฟหน้าหลายสีไม่มีนะครับ ในเวลากลางคืนหรือในที่มืด รถจะต้องเปิดไฟหรือใช้แสงสว่างตามลักษณะที่กำหนดคือโคมไฟส่องสว่างหน้ารถจะต้องมีสีขาวหรือสีเหลืองเท่านั้น และจะต้องมีกำลังไฟไม่เกิน 10วัตต์ เพราะอาจทำให้ผู้ร่วมทางเกิดความรำคาญจนอาจเกิดความไม่ปลอดภัยได้ หากผู้ใดฝ่าฝืน จะต้องถูกปรับไปเกิน 500บาท

      ล้อและยางอย่าให้ยื่นออกนอกตัวรถ ล้อรถด้านท้ายจะยื่นออกมาจากตัวถังรถได้ไม่เกิน15cm. และขอบยางด้านนอกสุดห้ามยื่นออกมาเกินตัวถังรถ หากผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องโทษปรับไม่เกิน 2,000บาท

      ไฟเบรกต้องเป็นสีแดงเท่านั้น รถทุกคันจะต้องมีไฟหยุดหรือไฟเบรกเป็นสีแดงเท่านั้นและห้ามดัดแปลงทำให้เป็นไฟกระพริบ เพื่อไม่ให้สร้างความรำคาญแก่ผู้อื่น หรือทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิด จนเป็นเหตุให้เกิดความไม่ปลอดภัยได้ หากผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องโทษปรับไม่เกิน 2,000บาท

สำหรับมือใหม่และมือเก่าทุกท่านไม่ควรมองข้ามระเบียบข้อบังคับข้างต้นนี้ทั้งหมดนะครับ เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนนทั้งตัวท่านเองและเพื่อร่วมทาง ถนนเป็นทางสาธารณะที่ต้องใช้ร่วมกันพึงนึกไว้เสมอว่าเราไม่ได้ขับขี่บนถนนเพียงคนเดียว และต้องมีสติทั้งครั้งเมื่อนั่งอยู่หลังพวงมาลัย

ขอบคุณที่ทุกท่านได้เข้ามารับชม เข้ามาอ่านกันนะครับ เเละสามารถติดตามข่าวสารสดใหม่ก่อนใครต่อได้ที่ : realtimecarmagazine