10 คำย่อ-กลุ่มรถยนต์ และประเภทรถยนต์ SUV MPV PPV แตกต่างกันอย่างไร

10 คำย่อ-กลุ่มรถยนต์ และประเภทรถยนต์ SUV MPV PPV แตกต่างกันอย่างไร

 

ว่าด้วยเรื่องยานยนต์มักมีการใช้คำย่อบ่อยครั้ง และทำให้หลายคนสงสัยว่าคำย่อเต็ม ๆ หมายถึงอะไร และทำไมถึงเรียกแบบนี้อย่างเช่น SUV MPV PPV แตกต่างกันอย่างไร  เราจึงได้ทำการรวบรวมคำย่อเกี่ยวกับรถยนต์ที่ช่วงนี้ได้ยินกันบ่อย พร้อมคำอธิบายง่าย ๆ เพื่อให้เราเข้าใจตรงกันมากขึ้น โดยเราคัดมาให้ 10 คำน่ารู้เกี่ยวกับประเภทรถยนต์ ดังนี้

  1. SUV ย่อมาจากคำว่า Sport Utility Vehicle

ตัวอย่างรถยนต์ในกลุ่มนี้ได้แก่ : Honda CR-V, Nissan X-TRAIL, Mazda CX-5, Chevrolet Captiva, Subaru Forester, Mercedes-Benz GLC Class, BMW X3

เรียกกันสากลทั่วโลก หมายถึงรถยนต์อเนกประสงค์แบบยกสูงเพื่อการใช้งานทางเรียบและทางฝุ่น ตัวถังห้องโดยสารครอบถึงท้ายรถซึ่งมีประโยชน์ใช้สอยมากกว่ารถยนต์ทั่วๆ ไป แต่ยังคงความสปอร์ต และความสวยงาม หรือตั้งอยู่ในพื้นฐานของรถยนต์ทั่วไป แต่สิ่งที่แตกต่างที่เพิ่มเข้ามา คือ ความสมบุกสมบันที่ลุยได้มากกว่ารถยนต์ทั่วไป สามารถบรรทุกสัมภาระในการเดินทางได้มากขึ้นโดยส่วนใหญ่รถ SUV จะมาในรูปแบบที่นั่งประมาณ 5-7 ที่นั่ง ส่วนรถที่เป็นที่นิยม ได้แก่ Honda CR-V, Mazda CX-5, Subaru XV และ Nissan X-Trail

  1. PPV ย่อมาจากคำว่า Pick-Up Passenger Vehicle

            ตัวอย่างรถยนต์ในกลุ่มนี้ได้แก่ : Toyota Fortuner, Mitsubishi Pajero Sport, Ford Everest, Chevrolet Trailblazer, Isuzu Mu-X

รถยนต์นั่งกึ่งบรรทุก หรือรถยนต์อเนกประสงค์แบบยกสูง โดยตัวถังห้องโดยสารครอบถึงท้ายรถที่ ใช้พื้นฐานเดียวกับ “รถกระบะ” แต่เอามาดัดแปลงเพื่อให้ความนุ่มนวล นั่งสบาย จึงมีการปรับเปลี่ยนในส่วนของช่วงล่างใหม่ ให้เป็นระบบช่วงล่างแบบคอยล์สปริง แทนแหนบซ้อนกันแบบหลายแผ่น ทำให้ไม่แข็งกระด้างแบบรถกระบะ แต่ก็ยังสามารถลุยได้ในเส้นทางที่สมบุกสมบันแบบเดียวกับรถกระบะเหมือนกัน

  1. MPV ย่อมาจากคำว่า Multi Purpose Vehicle

            ตัวอย่างรถยนต์ในกลุ่มนี้ได้แก่ : Honda Mobilio, Toyota Innova CRYSTA, Toyota SIENTA, Suzuki ERTIGA

หมายถึงรถยนต์อเนกประสงค์ แต่ไม่ได้มีการยกสูง ดีไซน์ตัวถังห้องโดยสารจะยาวเป็นพิเศษและสูงโปร่งครอบถึงท้ายรถ จะมีลักษณะคล้ายกับรถตู้ ที่มาพร้อมกับฟังก์ชั่นอำนวยความสะดวก แต่ให้ความนิ่มนวล เหมือนนั่งรถหรู โดยหากจะพูดถึงรถ MPV ที่เป็นที่นิยมในบ้านเรา ก็คือ Toyota Alphard, Hyundai H-1, Toyota Sienta และ Toyota Innova โดยมีที่นั่งไม่เกิน 11 ที่นั่ง

 

  1. CUV ย่อมาจากคำว่า Crossover Utility Vehicle

            ตัวอย่างรถยนต์ในกลุ่มนี้ได้แก่ : Toyota C-HR, Honda HR-V, Honda BR-V, Nissan Juke, Ford Ecosport, Mazda CX-3, Mercedes-Benz GLA, BMW X1

เป็นคำที่ใช้ในการตลาดของต่างประเทศ เป็นรถยนต์อเนกประสงค์แบบยกสูง มักมีการตกแต่งด้วยวัสดุสีดำที่กันรอยขีดข่วนที่ชายกันชน ซุ้มล้อ และด้านข้างรถ พัฒนาเพื่อการวิ่งบนถนนเป็นหลัก ทำให้ช่วงล่างจะนุ่มนวลกว่า SUV ที่นั่งโดยสารไม่เกิน 7 ที่นั่ง

 

  1. Eco Car หมายถึง รถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล

            ตัวอย่างรถยนต์ในกลุ่มนี้ได้แก่ : Honda Brio/Brio Ameze, Toyota Yaris/Yaris Ativ, Mitsubishi Mirage/Attrage, Suzuki CIAZ/CELERIO/Swift เจเนอเรชั่น 2 (ปี2012-2017)

หลายคนเข้าใจผิดว่า Eco Car หมายถึงรถยนต์เล็ก แต่แท้ที่จริงแล้วไม่ใช่ ไม่มีกำหนดขนาดรถยนต์แต่อย่างใด ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคอย่างเรา ๆ คือ

– อัตราการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงไม่เกิน 5 ลิตร/100 กม. หรือ น้ำมัน 1 ลิตรวิ่งได้ระยะทาง 20 กม.

– มาตรฐานมลพิษระดับยูโร 4 คือ ที่การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่า 120 กรัม/ 1 กม.

– ความจุกระบอกสูบไม่เกิน 1,300 ซี​.​ซี. สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน และไม่เกิน 1,400 ซี​.​ซี​.​

สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล

 

  1. Eco Car Phase 2 หมายถึง รถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล รุ่น 2

 

            ตัวอย่างรถยนต์ในกลุ่มนี้ได้แก่ : Mazda2, Suzuki Swift เจเนอเรชั่น 3 (ปี2018-2023)

เมื่อโครงการครั้งแรกประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดี เริ่มต้นโครงการครั้ง 2 ใช้วิธีเชิญชวนการลงทุน ลดภาษีในหลายส่วนเช่นเดิม แต่เพิ่มความเข้มงวดมากขึ้น ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคอย่างเรา ๆ คือ

– อัตราการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงไม่เกิน 5 ลิตร/100 กม. หรือ น้ำมัน 1 ลิตรวิ่งได้ระยะทาง 23.2 กม.

– มาตรฐานมลพิษระดับยูโร 5 คือ ที่การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่า 100 กรัม/ 1 กม.

– ความจุกระบอกสูบไม่เกิน 1,300 ซี.ซี. สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน และไม่เกิน 1,500 ซี.ซี. สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล

– คุณสมบัติด้านความปลอดภัยเชิงป้องกัน  โดยอย่างน้อยจะต้องมี ระบบห้ามล้อแบบป้องกันการล็อก  (ABS), และระบบควบคุมเสถียรภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์ (ESC) *ชื่อทางการค้ามีหลายแบบ

  1. Mild Hybrid Electric Vehicles-MHEV หรือ รถยนต์มายไฮบริด

 

            ตัวอย่างรถยนต์ในกลุ่มนี้ได้แก่ : Nissan X-TRAIL Hybrid, Audi A8L, Audi A7 และในอดีตมี Honda Civic Hybrid, Honda Jazz Hybrid

หมายถึงรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปเสริมกำลังด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าขนาดเล็ก แต่มักจะเห็นการนำเสนอรถยนต์ประเภทนี้ว่าไฮบริดเฉย ๆ ใช้กำลังเครื่องยนต์เป็นหลัก เนื่องด้วยไฮบริดมีขนาดเล็ก ดึงข้อดีของระบบมอเตอร์ไฟฟ้าที่มีแรงบิดเยอะไม่ต้องรอรอบ เรียกว่าอึดใจที่เร่ง ก็รีดใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ใช้เกือบหมด ทำให้ไม่ต้องมีโหมด EV (ไฟฟ้าล้วน) ต้นทุนเรื่องแบตไม่สูง ช่วยเพิ่มอัตราประหยัดน้ำมัน และคายไอเสียของเครื่องยนต์ได้

 

  1. Hybrid Electric Vehicles – HEV หรือ รถยนต์ไฮบริด

 

            ตัวอย่างรถยนต์ในกลุ่มนี้ได้แก่ : Honda Accord Hybrid, Toyota Camry Hybrid, Toyota C-HR Hybrid

หมายถึงรถยนต์เครื่องยนต์สันดาป ทำงานร่วมกับมอเตอร์ไฟฟ้าที่เพียงพอให้ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าล้วน (EV Mode) ในระยะเวลาสั้น ๆ เพราะประจุของแบตเตอรี่อยู่ในระดับกลาง ไม่สามารถชาร์จแบตเตอรี่ได้จากภายนอก

 

  1. Plug-in Hybrid Electric Vehicles – PHEV หรือ รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด

 

            ตัวอย่างรถยนต์ในกลุ่มนี้ได้แก่ : BMW eDRIVE, Mercedes EQ

หมายถึงรถยนต์เครื่องยนต์สันดาป ทำงานร่วมกับมอเตอร์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ ​มีการติดตั้งแบตเตอรี่ประจุสูงมาด้วย ทำให้การเจนเนอเรทจากเครื่องยนต์และเบรกไม่เพียงพอ เพื่อให้ได้ใช้ระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าอย่างเต็มที่จึงทำการเสียบชาร์จจากภายนอกเพิ่มเติม

 

 

  1. EV ย่อมาจาก Electric Vehicles หมายถึงรถยนต์ที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในการขับเคลื่อน 100%

 

คือ ยานพาหนะที่ขับเคลื่อนโดยมอเตอร์ไฟฟ้าแทนการใช้เครื่องยนต์ที่มีการเผาไหม้แบบสันดาป โดยรถยนต์ EV จะใช้พลังจากไฟฟ้าแทนการใช้มันน้ำหรือพลังงานอื่นๆ โดยระบบรถไฟฟ้าจะเก็บพลังงานเอาไว้ในแบตเตอรี่ที่สามารถชาร์จได้ และแปลงพลังงานจากแบตเตอรี่มาใช้ในการขับเคลื่อนรถ

 

 

 

ความแตกต่างของแต่ละประเภท

ประเภท MPV SUV PPV
1.ข้อมูล รถที่สามารถรองรับผู้โดยสารได้หลายที่นั่ง และมีความอเนกประสงค์ในตัว โดยลักษณะของรถประเภท MPV จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับรถตู้ แต่ให้ความสะดวกสบาย และความอเนกประสงค์เหมือนรถยนต์ระดับหรู เป็นรถที่มีความอเนกประสงค์ อรรถประโยชน์มากกว่ารถยนต์ทั่วๆ ไป แต่ยังคงความสวยงาม และความสปอร์ต หรือตั้งอยู่บนพื้นฐานของรถยนต์นั่งทั่วไป รถอเนกประสงค์ที่มีพื้นฐานมาจากรถกระบะหรือรถกระบะดัดแปลงเป็นรถยนต์นั่งอเนกประสงค์   โดยส่วนใหญ่จะออกแบบมาให้สามาถรองรับผู้โดยสารได้ 7 ที่นั่ง
2.ยี่ห้อรถยนต์ที่อยู่ในแต่ละประเภท 1.Suzuki Ertiga, 2.Mitsubishi xpander

3.Toyota Alphard

4.Honda Odyssey

5.Hyundai H1

6.Toyota Sienta

7.Toyota Innova

1.Subaru forester

2.Honda CR-V

3.Nissan X-trail

4.MG GS

5.Mazda CX-5

6.Subaru XV

1.Isuzu MU-X

2.Toyota Fortuner

3.Mitsubishi Pajero Sport

4.Toyota Hilux Revo

5.Isuzu D-Max

 

3.โช๊คอัพที่ใช้ดีของแต่ละประเภท 1.Tokico

2.Yss

3.Robust

1.Yss

2.Champs แกน20 ปรับได้ 9 ระดับ

3.Overland

4.PNK ปรับได้ 8 ระดับ

1.Yss

2. Profender

3. OzyMonotube ปรับได้    24ระดับ

4. Ripper Plus

4.ยี่ห้อที่โช๊ค รองรับของแต่ละประเภท Yss ,Endurapro ,Robust ,Tokico ,Monroe ,Miyamoto ,Showa Profender ,Overland ,Fox ,Robust ,Washimoto ,Champs ,Yss ,PNK ,Autopluz ,Skokku Sports Profender , Ripper Plus ,Miyamoto ,Ohline ,Shokku Sport ,Fox ,Yss ,Super Red
5.ความต่างของช่วงล่าง ช่วงล่างนุ่มนวล การทรงตัวดี โครงสร้างพื้นฐานมาจากรถตู้ ช่วงล่างจะนุ่มนวลกว่า เหมือนรถเก๋ง โครงสร้างสั้น ไม่สูงจนเกินไป ช่วงล่างเหมือนรถกระบะแต่จะนุ่มนวลกว่า โครงสร้างยาวกว่า และสูงกว่า

 

 

เปรียบเทียบสเปครถยนต์ประเภท SUV

ยี่ห้อ Honda CR-V Mazda Cx-5 MG HS Nissan X-trail Subaru Forester
มิติตัวถัง (ยาว/กว้าง/สูง) 4,571 / 1,855 / 1,667 4,550 / 1,840 / 1,675 4,574 / 1,876 / 1,664 4,690 / 1,820 / 1,740 4,625 / 1,815 /

 1,730

เครื่องยนต์ 2.4 ลิตร 4 สูบ i-VTEC 20 ลิตร 4สูบ 1.5 ลิตร 4สูบ เทอร์โบ 2.5 ลิตร 4สูบ 2.0ลิตร 4สูบนอน
กำลังสูงสุด (แรงม้า/รอบนาที) 173/6,200 165/6,000 162/5,600 171/6,000 156/6,000
แรงบิดสูงสุด (นิวตันเมตร/รอบต่อนาที) 224/4,000 210/4,000 250/1,700-4,400 233/4,000 196/4,000
ระบบส่งกำลัง CVT อัตโนมัติ 6สปีด Twin Clutch 7 สปีด Xtronic CVT 7สปีด Lineartronic CVT
อัตราการบริโภคน้ำมัน (กม./ลิตร) 12.2 13.9 16.1 12 13.2
ออฟชั่นเด่น ระบบแสดงภาพมุมอับสายตา/7ที่นั่งฝาท้ายแตะเปิด GVC+

Mazda connect

i-smart/ไฟในห้องโดยสาร 64 สี LKA ระบบช่วยให้รถอยู่ในเลน กล้องมองรอบคัน/7ที่นั่งฝาท้ายแตะเปิด Eyesight ทุกรุ่นขับเคลื่อนสี่ล้อ
ผู้ผลิต บ.ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด Inokom Corportation SDN BHD มาเลเซีย บ.เอสเอโอชิมอเตอร์ (ประเทศไทย)จำกัด บ.นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย)จำกัด บ.ตันจง ซูบารุ ออโต้โบทีฟ (ประเทศไทย) จำกัด
การรับประกัน 3ปี หรือ 100,000 กม. บริการช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ชม. 5ปี หรือ 150,000 กม.

ฟรีค่าแรงเช็คระยะ 5ปี

4ปี หรือ 120,000 กม.

บริการช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ชม.

3ปี หรือ 100,000 กม. บริการช่วยเหลือ 24 ชม. / 3ปี 5ปี หรือ 100,000 กม. บริการช่วยเหลือ 24 ชม. / 3ปี
ราคา (บาท) 2.4S               1,359,000

2.4E               1,409,000

2.4ES 4wd    1,449,000

2.4EL 4wd    1,549,000

2.0C                 1,300,000

2.0S                  1,410,000

2.0SP                1,560,000

2.5Turbo SP    1,850,000

C                919,000

D             1,019,000

X             1,119,000

2.5S 2WD                   1,350,000

2.5V 2WD                  1,460,000

2.0V 4WD  Hybrid    1,537,000

2.0VL4WD Hybrid   1,617,000

2.5VL 4WD                1,660,000

2.0i            1,330,000

2.0i-S         1,380,000

2.0i-S ES   1,450,000

จุดเด่น -ขับง่าย สบาย

-ศูนย์บริกาทั่วประเทศ

-ราคาขายต่อดี

-ขับสนุก อัตราเร่งดี ช่วงล่างหนึบ

-ระบบความปลอดภัยมากที่สุด

-วัสดุคุณภาพสูง

-ราคาย่อมเยา

-ออฟชั่นลูกเล่นเยอะ

-ใช้ชิ้นส่วนแบรนด์เดียวกับยุโรป

-ขับนุ่ม นั่งสบาย

-ศูนย์บริการทั่วประเทศ

-ซ่อมดูแลง่าย

-ขับเคลื่อน4ล้อตลอดเวลา

-ระบบความปลอดภัยล้ำสมัย

-ขับหนึบแน่น ข้างหลังสบาย

ที่มา: http://www.car.go.th/ และบริษัทผู้ผลิต

 

 

เปรียบเทียบสเปครถประเภท PPV

ยี่ห้อ Ford Everest 2.0 Bi-Turbo Titanium plus Honda CR-V DT EL 4WD Isuzu Mu-x 3.0 4×4 DA DVD Navi Mazda CX-8 XDL Exolusive Mitsubishi Pajero sport 4WD GT-Premium Nissan Terra 2.3VL 4WD 7AT Toyota Fortuner 2.8V 4WD AT
มิติตัวถัง (ยาว/กว้าง/สูง) 4,903/1,869/1,834 4,571/1,855/1,667 4,825/1,860/1,860 4,900/1,840/1,730 4,825/1,815/1,835 4,885/1,865/1,835 4,795/1,855/1,835
ความสูงใต้ท้อง (มม.) 225 208 230 200 218 225 193
เครื่องยนต์ 2.0L Bi-Turbo 1.6L i-DTEC Turbo 3.0L Turbo 2.2L WT Turbo 2.4L Mivec Turbo 2.3L Bi-Turbo 2.8L Turbo
กำลังสูงสุด (แรงม้า/รอบนาที) 213/3,750 160/4,000 177/3,600 190/4,500 181/3,500 190/3,750 177/3,400
แรงบิดสูงสุด (นิวตันเมตร/รอบต่อนาที) 500/1,750-2,000 350/2,000 380/1,800-2,800 450/2,000 430/2,500 450/1,500-2,500 450/1,600-2,400
ระบบส่งกำลัง อัตรโนมัติ 10 สปีด อัตรโนมัติ 9 สปีด อัตรโนมัติ 6 สปีด อัตรโนมัติ 6 สปีด อัตรโนมัติ 8 สปีด อัตรโนมัติ 7 สปีด อัตรโนมัติ 6 สปีด
อัตราการบริโภคน้ำมัน (กม./ลิตร) 13.2 17.9 13.7 14.7 13.3 13.2 13.9
ออฟชั่นเด่น หลังคาพาโนรามิค,SYNC3

ระบบช่วยจอดอัตรโนมัติ

เกียร์ไฟฟ้า,แพตเดิลซัฟ apple car play ใช้ Siri ได้ จอเพดาน 10 นิ้ว เบาะเย็น เบาแถว 2 แบบ VIP เครื่องเสียง BOSE จอเพดาน 12.1 นิ้ว พร้อมหูฟังอินฟาเรดฝาท้ายแตะเปิด-ปิดได้ จอเพดาน 11 นิ้ว กระจกมองหลังเป็นจอ Telematics
ผู้ผลิต บ.ออโต้อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด บ.ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด บ.อีซูซุมอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด บ.Idokom มาเลเซีย บ.มิตซูบิชิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด บ.นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด บ.โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
การรับประกัน 3 ปี หรือ 100,000กม.

ฟรีค่าเช็คระยะ

5 ปี / 75,000 กม.

3 ปี หรือ 100,000 กม. 3 ปี หรือ 100,000 กม. 3 ปี หรือ 100,000 กม. 5 ปี หรือ 100,000 กม.

ฟรีค่าเช็คระยะ5ปี

หรือ 100,000 กม.

3 ปี หรือ 100,000 กม. 3 ปี หรือ 100,000 กม.
ราคา (บาท) 1,799,000 1,699,000 1,474,000 2,069,000 1,599,000 1,457,000 1,673,000

ที่มา:https://news1live.com

 

 

 

เปรียบเทียบสเปครถประเภท MPV

ที่มา: https://www.checkraka.com/car/article/122618/

ยี่ห้อ Mitsubishi Xpander GLS-LTD Honda BR-V SV Suzuki Ertiga GX Toyota Sienta 1.5 V
เครื่องยนต์ 1,499 cc, 105 แรงม้า 1,497 cc , 117 แรงม้า 1,462 cc , 105 แรงม้า 1,496 cc , 108 แรงม้า
เครื่องยนต์ 4 สูบ MIVEC DOHC 16 วาล์ว 4 สูบ SOHC 16 วาล์ว i-VTEC K15B, 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว 2 NR-FE, 4 สูบแถวเรียง DOHC 16 วาล์ว Dual VVT-i
ระบบขับเคลื่อน ขับเคลื่อนล้อหน้า ขับเคลื่อนล้อหน้า ขับเคลื่อนล้อหน้า ขับเคลื่อนล้อหน้า
ระบบเกียร์ เกียร์ออโต้ 4 AT เกียร์ออโต้ CVT เกียร์ออโต้ 4AT เกียร์ออโต้ 7AT
ระบบจ่ายน้ำมัน หัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์ ECI-MULTI 32 bit หัวฉีดมัลติพอยท์ PGM-Fi หัวฉีดมัลติพอยท์ MPi EFi
วัสดุหุ้มเบาะ ผ้า หนังแท้ ผ้า หนังแท้
ราคา (บาท) 789,000 835,000 725,000 875,000

 

 บทสรุปคือ SUV เป็นรถยนต์ที่มีความอเนกประสงค์ มากกว่ารถยนต์ทั่วไป และยังคงความสวยงาม ความสปอร์ตไว้อยู่ ส่วน PPV เป็นรถยนต์ที่มีพื้นฐานมาจากรถกระบะโดยเอารถกระบะมาดัดแปลงให้เป็นรถยนต์อเนกประสงค์ ส่วนใหญ่มักออกแบบมาให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 7 ที่นั่ง และ MPV เป็นรถที่สามารถรองรับผู้โดยสารได้หลายที่นั่ง โดยจะมีลักษณะที่คล้ายกับรถตู้แต่ให้ความสดวกสบายและความอเนกประสงค์เหมือนรถระดับหรู

 

ที่มา:     https://www.autostation.com/knowledge/suv-ppv-mpv-crossover-compare

            https://car.kapook.com/view193220.html

            https://pantip.com/topic/37097245

            https://news1live.com/detail/9630000048921

            https://mgronline.com/motoring/detail/9630000046460