นั่งขับรถแบบไหนให้ถูกวิธี

นั่งขับรถแบบไหนให้ถูกวิธี

อีกหนึ่งเรื่องง่ายๆใกล้ตัวที่หลายคนมักจะมองข้าม แท้จริงแล้วจัดว่าเป็นเครื่องที่สำคัญยิ่งนักเพราะอย่าลืมว่าทุกวันนี้ในบางวันคนเราใช้เวลาอยู่ในรถมากกว่าอยู่ที่บ้านซ้ะอีก เคยนั่งคำนวนเวลากันบ้างหรือป่าวครับสำหรับหนุ่มสาวอ๊อฟฟิตทั้งหลาย เพราะฉะนั้นเราควรที่จะใส่ใจกับท่านั่งในการขับขี่รถกันบ้าง เพื่อไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับตัวคุณเอง โม้เยอะอีกแล้ว เราเข้าไปดูวิธีการนั่งที่ถูกต้องกันเลยดีกว่าครับ..

Chauffeur-hire-London-e1490340849685

การขับรถยนต์เป็นเวลานานๆ นั้น อาจก่อให้เกิดความเมื่อยล้าได้ ดังนั้นผู้ขับทุกคนควรทราบถึงท่านั่งที่ถูกวิธี เพื่อที่จะช่วยบรรเทาความเมื่อยล้า และยังสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขับรถให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย โดยมีวิธีปฎิบัติที่เพื่อนๆ สามารถทำตามได้ง่าย ดังต่อไปนี้

postura

การปรับระยะเบาะนั่ง ถ้ารถที่ขับเป็นเกียร์ออโต้ ให้ใช้ฝ่าเท้าเหยียบที่แป้นเบรก แล้วเลื่อนตัวเบาะนั่งให้เข่างอเล็กน้อย แต่ในกรณีที่เป็นรถเกียร์ธรรมดาหรือเกียร์กระปุก ให้นั่งชิดพนักพิงแล้วใช้ เท้าเหยียบแป้นนคลัตช์ให้สุด ถ้าเหยียบไม่สุด ให้ปรับเบาะไปทางด้านหน้า เมื่อเหยียบสุดแล้วเข่าต้องตึง มิฉะนั้นจะเมื่อยเข่าในขณะขับ

การปรับพนักพิงที่ถูกต้อง การปรับพนักพิงจะต้องไม่เอนไปข้างหลังหรือข้างหน้ามากมาก ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ โดยใช้มือขวาจับที่ 2-3 นาฬิกา ข้อศอกจะงอเล็กน้อย แผ่นหลังจะติดพนักพิงเสมอ จากนั้นลองเลื่อนมือไปวางไว้บนสุดของพวงมาลัย ข้อมือจะต้องแตะกับพวงมาลัยได้พอดีจึงถือว่าถูกต้อง ถ้าวางมือลงบนพวงมาลัย แล้วมืออยู่เลยไปถึงกลางฝ่ามือหรือโคนนิ้ว แสดงว่าปรับพนักพิงเอนเกินไป แต่ถ้าวางมือลงบนพวงมาลัยแล้วมืออยู่ชิดเลยข้อมือเข้ามาแสดงว่านั่งชิดเกิน ไป

การปรับหมอนรองศรีษะ หมอนรองศรีษะนั้นให้ปรับเอนศรีษะอยู่กลางหมอนรองศรีษะพอดี บางคนอาจเข้าใจผิดคิดว่ามีไว้สำหรับเอาคอมาพิงเพื่อจะนอนได้สะดวก แต่ความเป็นจิงแล้วถ้าทำลักษณะเช่นนั้น จะเกิดอันตรายมากเวลาเกิดอุบัติเหตุ เพราะว่าหมอนรองศรีษะมีหน้าที่ไว้รองศรีษะเวลาเกิดอุบัติเหตุไม่ให้ศรีษะเงย หรือสบัดไปด้านหลังเท่านั้น ซึ่งอาจเป็นเหตุให้กระดูกคอแตกหรือหักได้

Blog 08

เข็มขัดนิรภัย ถ้ารถยนต์สามารถที่จะปรับเข็มขัดนิรภัยให้สูงต่ำได้ ควรปรับระดับสายเข็มขัดนิรภัยให้เหมาะสม โดยสายเข็มขัดต้องพาดจากบริเวณไหปลาร้าเฉียงลงมาที่สะโพก แล้วมาพาดอยู่แถวกระดูกเชิงกราน โดยอย่าให้สายมาพาดที่บริเวรคอ หรือห้อยเลยหัวไหล่ไปเด็ดขาด

aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL2F1LzAvdWQvMC84NjAvYmVsdC5qcGc=

การปรับพวงมาลัยรถยนต์  ในรถยนต์รุ่นใหม่ๆ มีระบบการปรับพวงมาลัย โดยการปรับนั้นจะต้องไม่สูงเกินไปจนทำให้เมื่อยขณะขับรถและไม่ควรต่ำจนติดหน้าขา

การปรับกระจกมองหลัง ควรปรับกระจกมองหลังให้เห็นมุมมองกว้างที่สุดและรู้สึกสบายสายตาขณะมอง ไม่ใช่ปรับไว้เพื่อดูหน้าตัวเองตอนแต่งหน้าในรถยามที่รถติดเท่านั้น

 how-to-adjust-mirror-01

การปรับกระจกมองข้าง ให้ปรับกระจกมองข้างให้มองเห็นตัวถังของรถยนต์เพียงนิดหน่อย ควรปรับให้กว้างเห็นถึงช่องรถถัดไป

1240_2017041112190086

สิ่งที่เราไม่ควรทำในขณะที่กำลังนั่งขับรถอยู่

อย่านั่งชิดพวงมาลัยมากเกินไป เนื่องมาจากการต้องการมองด้านหน้าสุดของฝากระโปรงหน้า เพราะกลัวว่าการกะระยะอาจไม่ถูกต้อง ซึ่งการกระทำเช่นนี้จะทำให้ข้อศอกงอมากกว่าปกติ ทำให้การหมุนพวงมาลัยไม่ถนัด และหากเกิดอุบัติเหตุจะทำให้ถุงลมนิรภัยเกิดการพองตัวขึ้นมาปะทะกับหน้า ทันที ดังนั้นควรกะระยะเผื่อไว้เล็กน้อย เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเอง

iStock-498734646-600x362

การปรับเบาะเอนไปด้านหลังมากๆ ทำให้เวลาขับรถต้องชะโงกตัวโหนพวงมาลัย ทำให้ไม่สามารถควบคุมพวงมาลัยได้คล่องตัว ขาดความฉับไวและแม่นยำในการควบคุม และเมื่อมองกระจกมองหลังและกระจกมองข้าง จะต้องเบนแนวสายตามากกว่าปกติ ทำให้เกิดการเมื่อยล้าเมื่อขับรถในระยะไกล

การปรับหมอนรองศรีษะให้หนุนลำคอ ควรปรับหมอนรองศรีษะหนุนแล้วอยู่กลางหมอน เพื่อเวลาเกิดอุบัติเหตุ ศรีษะจะสบัดไม่มากทำให้ลดอันตรายที่จะเกิดกับกระดูกต้นคอ

การจับพวงมาลัย ควรจับในตำแหน่งที่ถูกต้อง และควรจับด้วยมือทั้งสองอยู่เสมอ ไม่ควรจับในท่าที่สบายเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย

conduite

คนส่วนใหญ่พอคาดเข็มขัดนิรภัยครั้งแรกจะรู้สึกอึกอัด หายใจไม่ออก ไม่สบายเนื้อตัว ซึ่งการกระทำเช่นนี้เป็นเหตุให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้  เพราะหากเกิดอุบัติเหตุคนขับจะพุงตัวเข้าหาพวงมาลับหรือกระจกหน้ารถแบบเต็ม ที่ ดังนั้นผู้ขับรถทุกท่านควรคาดเข็มขัดนิรภัยให้เกิดความเคยชิน จนคิดเป็นนิสัยา

เมื่อขับรถนานๆ อาจเกิดวามเมื่อยล้าจากการใช้เท้าในการเหยียบคันเร่ง ซึ่งบางคนอาจนำเท้าซ้ายมาสลับเหยียบคันเร่งแทน การกระทำเช่นนี้ขอแนะนำว่าไม่ควรปฎิบัติ เนื่องจากผู้ขับยังไม่ชินกับการใช้เท้าข้างซ้ายเบรก ทำให้ไม่สามารถกะระยะได้ (ใน 1 วินาที ถ้าเราขับรถเร็ว 100 ก.ม./ชม.ใน 1 วินาทีนั้นรถจะวิ่งไปถึง 28 เมตร)

การฟังเพลงดังๆ หรือใส่หูฟัง จะทำให้ผู้ขับไม่ได้ยินเสียงผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น เสียงบีบแตร่จากรถคันอื่น เป็นต้น

WomenListenMusicInCar

การนั่งไม่จับพวงมาลัยรถยนต์หรือนั่งพิงประตู เมื่อมีเหตุฉุกเฉินกระทันหันจะไม่สามารถควบคุมรถยนต์ได้

เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวจริงๆครับกับการนั่งขับรถ ใครที่ได้อ่านคอลัมน์นี้แล้วก็อย่าลืมปฎิบัติตามกันด้วยน้ะครับ เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเองและคนรอบข้าง คอลัมน์หน้าจะมีอะไรดีๆมานำเสนอต้องคอยติดตามกันดูครับ…..

what-to-do-when-facing-a-bad-driver-head